ทำไมบิ๊ก บจ.ต้องเอาหุ้นไปค้ำบัญชีมาร์จิ้น ?

Source: ทำไมบิ๊ก บจ.ต้องเอาหุ้นไปค้ำบัญชีมาร์จิ้น ?

21 มิถุนายน 2567 | 16:59

ระยะหลังหุ้นขนาดกลาง-เล็กหลายบริษัทราคาดิ่งแรงร่วงแตะฟลอร์แบบไม่ทันตั้งตัว เกิดแรงขายหนีตายกันวุ่นวาย พอสืบสาวราวเรื่องกลายเป็นว่า เกิดจากมีการนำหลักทรัพย์เหล่านั้นไปวางเป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้น พอราคาหุ้นลงเกินมูลค่าตามกำหนดและไม่มีการวางหลักทรัพย์เพิ่ม จึงถูกบังคับขาย (Force Sell) ราคาจึงเละแบบที่เห็น ยิ่งช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเป็นขาลง 

เหตุการณ์เหล่านี้จึงปรากฎบ่อยครั้ง กลายเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญมากระทบความเชื่อมั่นซ้ำเติมไปอีก แล้วการใช้บัญชีมาร์จิ้นคืออะไร เอาหุ้นไปค้ำแล้วเอาเงินไปไหน ใครเป็นคนทำ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นไหนอยู่ในข่ายบ้าง “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” มีคำตอบมาฝาก เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจกระบวนการนี้มากขึ้น …

 

*** ทำความรู้จักบัญชีมาร์จิ้น

สำหรับ บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) เป็นบัญชีที่โบรกเกอร์เปิดเพื่อให้สินเชื่อกับนักลงทุนในการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเองส่วนหนึ่ง ที่เหลือโบรกเกอร์จะเป็นฝ่ายจ่าย ซึ่งเงินที่โบรกเกอร์จ่ายให้นั้น ถือว่าเป็นเงินส่วนที่นักลงทุนกู้จากโบรกเกอร์นั่นเอง 

บัญชีประเภทนี้กล่าวง่าย ๆ คือ “มีเงินส่วนหนึ่ง กู้เพื่อลงทุนอีกส่วนหนึ่ง” โดยนักลงทุนต้องนำเงินสดหรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ก่อนซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนด เช่น กำหนดสัดส่วนที่ 50% ของวงเงินกู้ ดังนั้น ในการซื้อหุ้น 100 บาท นักลงทุนออกเงินตัวเอง 50 บาท ใช้เงินโบรกเกอร์อีก 50 บาท ซึ่งนักลงทุนจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ด้วย

โดย ข้อควรระวังในการเลือกใช้บัญชีประเภทนี้ คือ วงเงินกู้ยืมอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ ถ้าราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ลดลงมาก ๆ จนอัตรามาร์จิ้นต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โบรกเกอร์อาจบังคับให้ลูกค้าวางหลักประกันหรือเรียกเงินสดเพิ่ม หรืออาจบังคับขาย (Forced Sell) หุ้นดังกล่าวเพื่อรักษาอัตรามาร์จิ้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดการซื้อขายในบัญชีมาร์จิ้นจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่โบรกเกอร์กำหนดให้ซื้อขายผ่านบัญชีมาร์จิ้นได้เท่านั้น 

ดังนั้น บัญชีมาร์จิ้นจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนสูง มีความสามารถในการลงทุน และมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี

 

*** ใครเป็นคนทำ เพื่ออะไร

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน เปิดเผยว่า ส่วนใหญ่การนำหุ้นไปวางค้ำประกันมาร์จิ้นจำนวนมาก ๆ จะเกิดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนทำ ซึ่งกระบวนการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะวางมาร์จิ้นเหมือนกับนักลงทุนทั่วไปเลย โดยโบรกเกอร์จะมีคณะกรรมการพิจารณาความเสี่ยงว่าหุ้นตัวไหนควรให้เรตมาร์จิ้นเท่าไร หลัก ๆ จะมีระดับ 50/50, 60/40 และ 70/30 ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของหุ้นแต่ละบริษัท

ขณะที่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เมื่อวางมาร์จิ้นและได้เงินมาแล้ว ไม่สามารถนำเงินไปใช้อย่างอื่นได้ ทำได้เพียงแค่ลงทุนในหุ้นเท่านั้น ซึ่งจะซื้อหุ้นอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่หุ้นตัวเดียวกับที่นำมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับโบรกเกอร์ เนื่องด้วยจะทำให้มีความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น หากปล่อยให้มีการลงทุนในหุ้นตัวเดียวกับที่ค้ำประกันไว้

ทั้งนี้ การวางมาร์จิ้นแตกต่างจากการกู้เงินจากธนาคาร เนื่องด้วยการวางมาร์จิ้น คือ การกู้เงินจากโบรกเกอร์เพื่อมาลงทุนในหุ้น ซึ่งจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยราว 5 – 6% ขณะที่การกู้เงินจากธนาคารไม่สามารถนำมาลงทุนในหุ้นได้ ถ้าธนาคารรู้วัตถุประสงค์ก็ย่อมไม่ปล่อยกู้อยู่แล้ว โดยดอกเบี้ยของธนาคารส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 6 – 7%

เช่นเดียวกับ “ณรงค์เดช จันทรไพศาล” ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า ที่ให้ข้อมูลเสริมว่า กระบวนการวางมาร์จิ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะเหมือนกับนักลงทุนทั่วไปทุกประการ คือ แสดงความต้องการกับโบรกเกอร์ จากนั้นวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน และนำเงินไปลงทุน 

ซึ่งการที่โบรกเกอร์ จะปล่อยมาร์จิ้นระดับเท่าไรขึ้นอยู่กับหุ้นที่นำมาวางค้ำประกันด้วย โดยจะมีระบบหลังบ้านของโบรกเกอร์วิเคราะห์ว่าหุ้นตัวไหนควรให้มาร์จิ้นเท่าไร หรือไม่ให้เลยก็มี ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ โดยเงินที่ได้จากการวางมาร์จิ้น สามารถนำไปลงทุนได้เท่านั้น โดยมากจะลงทุนในหุ้น แต่บางโบรกเกอร์ อาจปล่อยให้ลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น DR หรือ DW ได้เหมือนกัน ซึ่งต้องขึ้นอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ด้วย

ด้าน “ณัฐพล คำถาเครือ” ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การวางมาร์จิ้น นักลงทุนจะได้วงเงิน 50% จากหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อไปใช้ในการลงทุน และไม่สามารถนำเงินไปใช้เพื่อวัตุประสงค์อื่นได้  โดยหุ้นที่จะซื้อต้องไม่ใช่หุ้นตัวเดียวกับที่นำมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับโบรกเกอร์ เนื่องด้วยจะทำให้มีความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น หากปล่อยให้ผู้ลงทุนไปลงทุนในหุ้นตัวเดียวกับที่ค้ำประกัน

 

*** ทำไมถึงโดน Force Sell

“ณรงค์เดช จันทรไพศาล” ระบุว่า หุ้นที่วางมาร์จิ้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงมา 30% จะถูกบังคับ Forced Sell และเมื่อลงมาที่ระดับ 50% จะถูก Call (เรียกหาหลักทรัพย์ค้ำประกัน) และเมื่อถูกเรียกเติมเงินขึ้นมา นักลงทุนต้องเติมเงินเข้าไปในสัดส่วนที่เท่ากับจำนวนที่วางค้ำประกันไว้ตอนแรก ถึงจะไม่ถูก Forced Sell

ฟาก แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน เสริมว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าหนี้ นำส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ในบัญชีเงินกู้ยืมซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้าออกขาย เป็นการลดภาระหนี้ของลูกค้ารายนั้น บริษัทหลักทรัพย์จะทำการบังคับขายก็ต่อเมื่อหลักประกันหนี้ของลูกค้ามีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้แล้ว โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ หรือต่ำกว่าระดับอัตราหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Rate) ที่เป็นเกณฑ์การบังคับขาย

 

*** ส่อง 50 หุ้นโดนนำไปตึ๊งมากสุด

ขณะที่ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” สำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ณ เดือน สิ้นเดือน พ.ค.67 มีหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันในบัญชีมาร์จิ้นรวม 947 หลักทรัพย์ (รวม Warrant, DR, IFF และ REIT) ซึ่้งมีถึง 96 หลักทรัพย์ที่สัดส่วนหุ้นที่นำไปค้ำประกันต่อหุ้นที่ชำระแล้วเกิน 10% โดยสูงสุด 50 อันดับแรกประกอบด้วย

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น 50 บจ. ถูกวางมาร์จิ้นสูงสุดเดือน พ.ค.

ชื่อย่อหุ้น

จำนวน (ล.หุ้น)

%สัดส่วนต่อหุ้นทั้งหมด

% Free float

ผถห.รายย่อย (ราย)

ราคาล่าสุด (บ.)

%chg YTD

SBNEXT

170

28.18

51.82

4,675

0.22

-82.54

NRF

546

38.51

33.81

9,678

1.45

-72.38

AS

107

20.87

36.26

6,444

3.06

-59.74

TAKUNI

141

17.64

80.45

6,755

0.86

-45.91

YGG

326

54.23

51.13

6,844

3.98

-44.34

EE

552

19.86

70.17

10,841

0.16

-40.74

AMANAH

205

17.27

43.21

8,315

1.16

-36.87

III

233

28.82

54.85

6,631

6.6

-33.67

READY

26

21.81

16.69

583

6.95

-33.28

APCS

158

24.00

45.22

1,079

2.78

-31.86

PJW

151

24.27

50.40

4,113

2.64

-30.16

GLOCON

586

19.04

71.66

9,791

0.26

-29.73

KGEN

410

32.77

59.44

3,292

0.68

-26.09

WARRIX

143

23.77

40.84

3,350

4.94

-25.15

EVER

851

17.52

57.90

9,616

0.12

-25

BEYOND

65

22.26

50.28

5,094

8.95

-24.15

GLORY

100

37.06

31.08

2,832

1.31

-23.39

JUBILE

32

18.17

44.94

2,576

14

-21.35

SSP

286

20.79

49.11

6,113

6.3

-21.25

KUN

291

38.78

24.67

1,526

1.43

-20.56

LPN

267

18.34

77.14

22,374

3.2

-19.6

PREB

59

18.96

73.64

3,575

5.25

-17.97

LDC

101

16.88

49.27

4,159

0.52

-16.13

ACE

2,016

19.81

22.48

20,502

1.29

-15.69

RS

221

20.68

59.69

8,506

12

-13.67

FVC

138

24.48

63.79

3,982

0.73

-12.05

IP

203

33.56

48.79

6,565

4.9

-11.53

BM

171

28.25

32.82

1,216

2.7

-10.6

A5

500

41.36

20.76

2,171

2.98

-10.24

UKEM

356

30.64

54.88

10,519

0.74

-8.64

JSP

151

31.72

32.64

3,489

2.12

-7.83

SFLEX

261

31.81

54.62

5,108

3.34

-6.7

SAAM

150

49.97

25.64

1,408

7.25

-6.45

NNCL

351

17.13

26.25

2,924

1.85

-5.13

STPI

355

22.19

75.52

8,945

3.12

-3.11

AMC

83

17.25

30.27

2,624

3.3

-1.2

KTC

455

17.66

33.96

17,693

43

-1.15

CGD

2,259

27.33

55.65

8,497

0.33

0

AQUA

1,408

24.65

49.17

6,961

0.34

0

TRITN

2,423

21.78

79.47

10,186

0.13

0

SCM

315

52.09

24.55

2,198

3.56

1.71

GPI

307

51.12

42.12

1,906

1.66

3.75

TFG

2,985

51.36

17.35

10,966

4.1

7.33

NER

404

21.88

63.75

24,886

5.35

7.86

SA

499

41.58

17.50

2,179

7.8

9.86

TPCH

67

16.70

55.40

4,686

6.7

11.67

XO

77

17.98

40.05

6,811

29.25

21.88

SAMART

248

24.62

57.98

8,781

5.9

33.48

DEMCO

189

25.86

49.76

7,553

3.72

50
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

50 บริษัทดังกล่าว มีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกันกว่า 3.3 แสนราย ซึ่งราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปี (YTD) ปรับตัวลงเฉลี่ย 15.27% สูงสุดถึง 82.54% โดยมีถึง 37 บริษัท ที่ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าวปรับตัวลง โดยมีเพียง 9 บริษัทเท่านั้นที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น ส่วนที่เหลือราคาหุ้นไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปีก่อน

โดย บมจ.สบาย คอนเน็กซ์ (SBNEXT) ราคาหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด 82.54% ขณะที่มีอีก 2 บริษัท ที่ราคาหุ้น ปรับตัวลงมากกว่า 50% ประกอบด้วย บมจ.เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ที่ราคาหุ้นปรับตัวลง 72.38% และ บมจ.แอสเฟียร์ อินโนเวชั่นส์ (AS) ที่ราคาหุ้นปรับตัวลง 59.74%

ส่วน บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากที่สุด 50% ขณะที่อีก 2 บริษัท ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากกว่า 20% ประกอบด้วย บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 33.48% และ บมจ.เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 21.88%

 

*** กูรูมองไม่กระทบภาพรวม แค่กระทบความเชื่อมั่น

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน มองว่า 50 หุ้นที่มีการวางมาร์จิ้นสูงสุด ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีปรับตัวลงเฉลี่ย 15% ยังไม่มีความน่าเป็นกังวลมากนัก เนื่องด้วยหุ้นดังกล่าวมีปริมาณการซื้อขายจำนวนมากรองรับอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูก Forced Sell ค่อนข้างน้อย

ขณะที่ “เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล.เอเชีย พลัส มองว่า ปัจจัยดังกล่าว จะไม่กดดันหุ้นไทยรุนแรงเหมือนในอดีต เนื่องจาก มูลค่าซื้อขายผ่านบัญชีมาร์จิ้นทั้งหมด ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 8.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงถึง 71% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยต่อเดือนในปี 2564 ที่อยู่สูงระดับ 2.97 แสนล้านบาท 

อีกทั้งข้อมูลล่าสุด ยังมีปริมาณหุ้นที่ใช้มาร์จิ้นคงค้างสัดส่วนเพียง 1.54% ของมูลค่าตามราคาหลักทรัพย์ (MARKET CAP.) แสดงให้เห็นการใช้มาร์จิ้นโดยรวมที่ลดลงกว่าในอดีตอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นประเด็นที่นักลงทุนเบาใจลงได้บ้างระดับหนึ่ง

ด้าน “ณัฐพล คำถาเครือ” เสริมว่า สำหรับ 50 หุ้นที่วางมาร์จิ้นสูงสุดปรับตัวลงค่อนข้างแรง มองว่า ยังไม่น่าเป็นกังวลเท่าไร เนื่องจากเป็นไปตาม Sentiment การลงทุนที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง หุ้นดังกล่าวก็มักจะถูกบีบให้ปรับตัวลงมาตามภาวะตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบระยะสั้นเท่านั้น เดี๋ยวพอ SET Index พลิกกลับก็จะคลายความกังวลไปเอง

ทั้งนี้ มองว่าหุ้นที่ปรับตัวลงมาในลักษณะดังกล่าว แต่ปัจจัยพื้นฐานยังดี เป็นโอกาสในการเข้าลงทุนด้วยซ้ำ เพราะคำว่าปัจจัยพื้นฐานดี นั่นหมายความว่ากำไรต้องโต มูลค่า (Valuation) ไม่แพง ซึ่งการที่หุ้นถูก Forced Sell บางทีก็ไม่ได้เกิดมาจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่เป็นกรณีของผู้ลงทุนบางกลุ่มนำหุ้นไปวางเพื่อขอมาร์จิ้น ซึ่งเหตุผลนี้ไม่ได้ชี้นำว่าหุ้นไม่ดี ดังนั้นจึงมองเป็นโอกาสลงทุนสำหรับหุ้นพื้นฐานแกร่ง ๆ 

 

*** สิ่งที่ต้องรู้หากหุ้นที่เราถือ โดนนำไปวางมาร์จิ้นสัดส่วนสูง

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน กลับมากล่าวต่อว่า สิ่งที่นักลงทุนควรทราบหลังจากหุ้นที่ถืออยู่ถูกนำไปวางมาร์จิ้นระดับสูง คือ หุ้นตัวดังกล่าวมีปริมาณการซื้อขายสูงพอหรือไม่ หากยังมีปริมาณการซื้อขายที่อยู่ในระดับสูง ก็ลดความกังวลที่หุ้นจะถูก Force Sell ได้ค่อนข้างเยอะ ประกอบกับ ถ้าเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งด้วย ยิ่งคลายความกังวลได้เลย

สอดคล้องกับ “ณรงค์เดช จันทรไพศาล” ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หุ้นที่ถูกวางมาร์จิ้นระดับสูง นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยพื้นฐานควบคู่ด้วยว่ายังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ ? ถ้าพบว่าแนวโน้มกำไรในอนาคตยังเติบโตในระดับที่น่าพอใจ ก็ยังสามารถวางในถือลงทุนต่อไปได้ เพราะปัจจัยพื้นฐานที่เเข็งแกร่งย่อมเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ราคาหุ้นปรับตัวลงแรง – นาน ถึงราคาหุ้นลงเดี๋ยวก็ฟื้นขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตาม หุ้น ส่วนใหญ่ที่ถูกวางมาร์จิ้นสูง ๆ ในตลาดหุ้นไทย มักจะเป็นหุ้นขนาดกลาง – เล็ก ทำให้มีผู้ถือหุ้นค่อนข้างน้อย จึงแนะนำว่า นักลงทุนควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย 

 

*** ชี้มาตรการควบคุมรัดกุมพอแล้ว

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน มองว่า มาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำกับดูแลเกี่ยวกับเรื่องการวางมาร์จิ้น ณ ปัจจุบัน ครอบคลุมและรัดกุมดีแล้ว สะท้อนจากมีมาตรการ Maintenance Margin Rate ที่มีการควบคุมความเสี่ยงไว้ 2 ระดับ ประกอบด้วย

1.ระดับที่ใช้เป็นเกณฑ์ Margin Call (เรียกให้ลูกค้าวางมาร์จิ้นเพิ่ม) เช่น กำหนดไว้ที่ร้อยละ 35 หากมูลค่ามาร์จิ้น (หรือหลักประกัน) ส่วนที่เหลืออยู่ของลูกค้าเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อ (หรือที่ขายชอร์ตไว้) แล้วมีอัตราเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 35 บริษัทหลักทรัพย์เจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ลูกค้ารายนี้วางมาร์จิ้นเพิ่ม เพื่อให้มาร์จิ้นกลับมาสูงกว่าอัตรา Margin Call 

2.ระดับที่ใช้เป็นเกณฑ์ Forced Sell (กรณีเป็นลูกค้าเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์) หรือเกณฑ์ Forced Buy (กรณีเป็นลูกค้าขายชอร์ต) ระดับที่สองนี้จะมีอัตราต่ำกว่าระดับแรก เช่น เกณฑ์ Forced Sell กำหนดที่อัตราร้อยละ 25 เป็นต้น หากมูลค่ามาร์จิ้นที่เหลืออยู่ของลูกค้า เทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้มีอัตราต่ำถึงระดับดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์เจ้าหนี้จะต้องทำการบังคับขายหลักทรัพย์บางส่วนของลูกค้านั้นเพื่อลดภาระหนี้ของลูกค้า 

ซึ่งจะมีผลให้มาร์จิ้นของลูกค้าเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่มีอัตราไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ Forced Sell นี้ ส่วนเกณฑ์ Forced Buy ก็เป็นทำนองเดียวกัน (ดู Margin Call, Forced Sell, Forced Buy) ได้

เช่นเดียวกับ “ณรงค์เดช จันทรไพศาล”  ที่ระบุว่า มาตรการควบคุมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ ปัจจุบัน ถือว่าครอบคลุมแล้ว สะท้อนจากการมี Maintenance Margin Rate และตลาดหลักทรัพย์ฯก็มีการเปิดเผยข้อมูลหุ้นที่ถูกวางมาร์จิ้นเป็นรายวันด้วย แต่ปัญหา คือ นักลงทุนบางรายอาจจะไม่เห็นข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากถูกวางไว้ในที่ที่เข้าถึงยาก ซึ่งถ้าจะมีการแก้ไขก็อาจจะเพิ่มอีกแถบใน Streaming ให้นักลงทุนเห็นได้ง่ายขึ้น จะเป็นการช่วยนักลงทุนรายย่อยอีกด้าน

ขณะที่ ในมุมมองโบรกเกอร์เห็นควรว่าจะต้องมีการทำมาร์จิ้นต่อไป แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังของนักลงทุนด้วย เพราะการทำมาร์จิ้นมีข้อดี คือ ช่วยให้ลงทุนได้ง่าย สร้างกำไรได้กว้างขึ้น เนื่องจากไม่มีเงินก็สามารถนำเงินไปลงทุนได้ก่อน แต่ข้อเสียของส่วนนี้ คือ ความเสี่ยงการลงทุนก็จะสูงด้วย และก็ต้องเสียดอกเบี้ย แถมยังเสี่ยงถูก Forced Sell ด้วย

ข้อดีอีกประเด็น คือ ทำให้ตลาดหุ้นคึกคักมากขึ้น สะท้อนจากสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูงขึ้น ส่งผลให้ตัวตลาดหุ้นเองก็มีความน่าสนใจมากขึ้นด้วย แต่ข้อเสียของส่วนนี้ คือ สามารถทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้เหมือนกันเวลาที่มีการ Forced Sell กันมาก ๆ 

ส่วน “ณัฐพล คำถาเครือ” กล่าวปิดท้ายว่า การวางมาร์จิ้นถือว่ามีมานานมากแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับนักลงทุน ส่วนมากก็มีบัญชีดังกล่าวกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าใด แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นปรับตัวลงแรง มีบางคนที่หันมาโทษการวางมาร์จิ้น ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่ต้นตอของปัญหา เป็นเพียงแค่ตัวเร่งให้ SET Index ปรับตัวลงเร็วขึ้นเท่านั้น

แต่เมื่อหุ้นปรับตัวลงถึงจุดหนึ่ง (จุดต่ำสุด) ราคาหุ้นก็จะฟื้นตัวขึ้นได้ ซึ่งมองในแง่ดี คือ ทำให้นักลงทุนได้เห็นสถานะที่แท้จริงของหุ้นแต่ละตัวมากขึ้น เช่น ถ้าหุ้นที่พื้นฐานดี ราคาหุ้นลงไปถึงจุดหนึ่งเดี๋ยวก็ปรับตัวขึ้นมา แต่ถ้าราคาหุ้นลงไปแล้วไม่เด้งขึ้นมา ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นหุ้นที่ไม่ได้มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี 

Leave a Reply

The maximum upload file size: 500 MB. You can upload: image, audio, video, document, spreadsheet, interactive, other. Links to YouTube, Facebook, Twitter and other services inserted in the comment text will be automatically embedded. Drop file here