Source: แรงกระเพื่อม ตลาดเงินโลก ทำไมทรัมป์เบรกภาษี 90 วันกะทันหัน? ถูกกดดันหนัก แผลลึกเศรษฐกิจรอวันปะทุ
Date Time: 10 เม.ย. 2568 12:45 น.
Video
More
Nokia ทำยังไง? ทุกวันนี้ถึงทำธุรกิจสบายกว่าตอนขายมือถือ | Digital Frontiers
Nokia ทำยังไง? ทุกวันนี้ถึงทำธุรกิจสบายกว่าตอนขายมือถือ | Digital Frontiers
“
Summary
“
ทรัมป์ ประกาศระงับการเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) ระยะเวลา 90 วัน เพื่อเปิดทางให้เกิดการเจรจาการค้า หลังถูกดดันหนักเนื่องจากความผันผวนอย่างรุนแรงในตลาดการเงิน ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ระบบการเงินทั่วโลกก็เริ่มคลี่คลายจากภาวะตึงเครียด ตลาดต่าง ๆ ที่เผชิญแรงกดดันตลอดสัปดาห์ก่อนหน้าจึงกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
– ก
ก
+ ก
Light
ฟังข่าว
Latest
Made in India ทางออก Apple ? ชดเชยต้นทุนสินค้านำเข้าจากจีนพุ่ง แห่ตุน iPhone ป้อนตลาดอเมริกา
Made in India ทางออก Apple ? ชดเชยต้นทุนสินค้านำเข้าจากจีนพุ่ง แห่ตุน iPhone ป้อนตลาดอเมริกา
Trending
1
แผ่นดินไหวป่วนธุรกิจโรงแรม
แผ่นดินไหวป่วนธุรกิจโรงแรม
2
จับตา เจรจาสหรัฐฯ ลดภาษีตอบโต้
3
ราคาทองคำพุ่งทะลัก50,900บาท
ห้าวันอันแห่งความโกลาหลทั่วโลก เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้าผลักดันแผนการเก็บภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ ที่ได้เขย่าตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตรจนปั่นป่วน จนเรียกได้ว่าเป็น จุดเปลี่ยนอย่างกะทันหันของราคาสินทรัพย์ทั่วโลก แม้มีคำเตือนว่ามาตรการดังกล่าวอาจจุดชนวนให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ล่าสุด ผู้นำสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับการเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) ระยะเวลา 90 วัน ซึ่งครอบคลุมสินค้านำเข้าจากเกือบ 60 ประเทศ รวมถึงสหภาพยุโรป โดยภายใต้ช่วงเวลาการระงับดังกล่าว สินค้าจากประเทศเหล่านั้นจะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราคงที่ 10% ซึ่งเป็นอัตราที่ทรัมป์ประกาศใช้กับสินค้านำเข้าทุกประเภทตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน เพื่อเปิดทางให้เกิดการเจรจาการค้า หลังจากกว่า 75 ประเทศได้ติดต่อขอเจรจากับทางการสหรัฐฯ เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับประเด็นทางการค้า
ทั้งนี้ ประเทศจีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ถูกจัดเก็บภาษีแบบตอบโต้ กลับไม่ถูกรวมอยู่ในมาตรการระงับครั้งนี้ โดยทรัมป์ยังคงยึดจุดยืนแข็งกร้าวต่อจีน พร้อมประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนจาก 104% เป็น 125% ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ จะกลับไปใช้อัตราพื้นฐานที่ 10% ระหว่างช่วงเจรจา
อ่านเพิ่มเติม
Recommended
หมู่เกาะในแอนตาร์กติกา มีแต่เพนกวิ้นกับแมวน้ำก็ไม่รอด ยังถูกทรัมป์เรียกเก็บภาษีนำเข้า
หมู่เกาะในแอนตาร์กติกา มีแต่เพนกวิ้นกับแมวน้ำก็ไม่รอด ยังถูกทรัมป์เรียกเก็บภาษีนำเข้า
จับตา ทำจริง หรือ แค่ขู่ ? 2 เม.ย. ดีเดย์ “ทรัมป์” ประกาศ ขึ้นภาษี “ทุกประเทศ” อย่างเท่าเทียม
จับตา ทำจริง หรือ แค่ขู่ ? 2 เม.ย. ดีเดย์ “ทรัมป์” ประกาศ ขึ้นภาษี “ทุกประเทศ” อย่างเท่าเทียม
ญี่ปุ่น เปิดรายงานคาดการณ์ 30 ปีข้างหน้า เกิดอภิมหาแผ่นดินไหว “นันไก” คาดสูญ GDP กว่าครึ่ง
ญี่ปุ่น เปิดรายงานคาดการณ์ 30 ปีข้างหน้า เกิดอภิมหาแผ่นดินไหว “นันไก” คาดสูญ GDP กว่าครึ่ง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเสี่ยง “ถดถอย” หากทรัมป์ ขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้า 25% เร่งเจรจาสหรัฐ หลีกเกมย้ายฐานผลิต
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเสี่ยง “ถดถอย” หากทรัมป์ ขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้า 25% เร่งเจรจาสหรัฐ หลีกเกมย้ายฐานผลิต
ปธน.ทรัมป์ ประกาศอัตราภาษีนำเข้าใหม่ เอเชีย-แปซิฟิกประเทศไหนโดนมากสุด?
“ภาษีทรัมป์” มหาโหดเขย่าหุ้นโลก หุ้นไทยดิ่งหนักทะลุ 60 จุด โบรกฯ เตือน อย่ารีบร้อนลงทุน
กระทบกันถ้วนหน้า สงครามภาษี ทำมหาเศรษฐี สูญความมั่งคั่ง 5 แสนล้านดอลลาร์ฯ Elon ก็ไม่รอด
ภาษีทรัมป์ชุดใหม่กดดันหุ้นเทค “7 นางฟ้า” ดิ่งต่อ มูลค่าตลาดวูบกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากความหวาดกลัวสู่ความหวังในตลาดการเงิน
อย่างไรก็ดี ความผันผวนอย่างรุนแรงในตลาดการเงิน ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ทรัมป์ต้องทบทวนท่าที เนื่องจากผู้นำภาคธุรกิจและนักลงทุนจำนวนมากร่วมกันกดดันให้เขาเปลี่ยนจุดยืน และทันทีที่มีการประกาศระงับการเก็บภาษี ระบบการเงินทั่วโลกก็เริ่มคลี่คลายจากภาวะตึงเครียด ตลาดต่าง ๆ ที่เผชิญแรงกดดันตลอดสัปดาห์ก่อนหน้าจึงกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ดัชนีหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นทันทีในวันพุธที่ 9 เมษายน ตามเวลาสหรัฐฯ แม้ช่วงเช้า ดัชนี S&P 500 จะเปิดตลาดในแดนลบ แต่ภายในวันเดียวกันก็พุ่งขึ้นเกือบ 10% ซึ่งถือเป็นการปรับตัวขึ้นรายวันที่แรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ปี 2008 ขณะเดียวกัน ดัชนีดาวโจนส์ทะยานขึ้นกว่า 7.8% หรือประมาณ 3,000 จุด ส่วนดัชนี Nasdaq Composite พุ่งขึ้นถึง 12% นับเป็นวันที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ และเป็นการฟื้นตัวที่แรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2001 ซึ่งตรงกับช่วงกลางของวิกฤตฟองสบู่ดอทคอม
ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นก็ร่วงลงจากระดับสูงสุดก่อนหน้า ขณะที่นักลงทุนลดการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่าง ๆ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ ปรับตัวสูงขึ้นจาก 3.92% ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 4.51% ก่อนจะอ่อนตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4.38%
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินปลอดภัยอย่างเงินเยนและฟรังก์สวิส ขณะที่ราคาน้ำมันซึ่งร่วงลงก่อนหน้านี้ก็เริ่มฟื้นตัว ท่ามกลางความหวังว่าการชะลอเก็บภาษีจะช่วยบรรเทาความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก
ส่วนในฝั่งของ ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น พุ่งขึ้นกว่า 9% ขณะที่ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้พุ่งขึ้น 5.38% ดัชนี Taiex ของไต้หวัน เพิ่มขึ้น 9.2% ด้านดัชนี S&P/ASX 200 ของออสเตรเลียปรับตัวสูงขึ้น 4.67% รวมถึงตลาดหุ้นไทย SET ที่กลับมาเด้งแรงเช่นเดียวกัน อ่านเพิ่มเติม SET เด้งแรง เปิดลิสต์หุ้นไทยน่าซื้อ หลัง “ทรัมป์” ระงับขึ้นภาษี 90 วัน ให้ 75 ประเทศที่ไม่ตอบโต้
ด้าน ตลาดหุ้นจีน นักลงทุนยังจับตาดูหุ้นจีนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็น 125% หลังจากปักกิ่งประกาศแผนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ 84% โดยดัชนี CSI 300 ของจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้น 1% ในขณะที่ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงลดลงเหลือ 1.92%
ความเสียหายสะสม ซ้ำเติมความเปราะบางของเศรษฐกิจ
ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้นับเป็นจุดสิ้นสุดของสัปดาห์ที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วน ซึ่งเริ่มต้นจากการที่ทรัมป์สร้างความตกตะลึงให้กับตลาดด้วยการประกาศเก็บภาษีนำเข้าสูงสุดในรอบกว่าศตวรรษ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อดึงงานในภาคการผลิตกลับคืนสู่สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งในแง่การทำลายห่วงโซ่อุปทาน การลดปริมาณการค้าข้ามพรมแดน และการเร่งแรงกดดันด้านเงินเฟ้อต่อผู้บริโภคชาวอเมริกันจากต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทต่างพากันปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ พร้อมเตือนถึงความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
ก่อนหน้าการประกาศระงับภาษี เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็เริ่มส่งสัญญาณอ่อนแรง โดยแผนเก็บภาษีที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 เมษายน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ขณะที่ธนาคารใหญ่หลายแห่งในวอลล์สตรีทเพิ่มความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
แม้ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวในวันพุธ และนักเศรษฐศาสตร์จากโกลด์แมน แซคส์จะปรับลดความเสี่ยงของภาวะถดถอยลง แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับท่าทีของทรัมป์ยังคงสร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อภาคธุรกิจและนักลงทุน และอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของภาคเอกชน
หลายฝ่ายยังเชื่อว่า การหยุดชั่วคราวของทรัมป์ไม่อาจขจัดความเสี่ยงในระยะยาวได้ เนื่องจากนโยบายที่ดำเนินไปอย่างไร้ทิศทางและขาดความชัดเจน ทำให้ภาคธุรกิจวางแผนลำบาก ขณะเดียวกันก็สร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้บริโภค แม้จะมีการถอยในบางประเด็น แต่ทรัมป์ก็ยังคงเดินหน้าตอบโต้จีนอย่างแข็งกร้าว โดยเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนขึ้นเป็น 125%
ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินครั้งนี้ถือว่ารุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดัชนี VIX ซึ่งสะท้อนระดับความกลัวของตลาดวอลล์สตรีทร่วงลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี และ 30 ปี แกว่งตัวกว่า 0.3% ในวันจันทร์และวันพุธ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นพร้อมกันมาก่อนนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลในปี 1998
ก่อนที่ทรัมป์จะเปลี่ยนจุดยืน ตลาดหุ้นทั่วโลกสูญเสียมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนแห่ขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อถือเงินสด ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นในหลายประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย
อนาคตหลังะงับ 90 วัน จะเป็นอย่างไรต่อ
ความผันผวนครั้งนี้เปรียบได้กับวิกฤตการณ์ใหญ่ เช่น การระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 หรือวิกฤตการณ์ของ Bear Stearns และ Lehman Brothers ในช่วงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ
แต่ในกรณีนี้ ต้นเหตุกลับมาจากผู้นำสหรัฐฯ ซึ่งดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศอย่างโดดเดี่ยวและไร้แบบแผน สร้างความไม่แน่นอนให้กับนักลงทุนทั่วโลกที่เกรงว่าเพียงแค่โพสต์เดียวของเขาบนโซเชียลมีเดีย ก็อาจทำให้ตลาดกลับตาลปัตรในชั่วพริบตา แม้นักลงทุนจะยินดีกับการหยุดเก็บภาษีชั่วคราว แต่ยังคงเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อท่าทีของทรัมป์ในอนาคต
จากถ้อยแถลงของทรัมป์ ช่วงระงับ 90 วันมีเป้าหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศคู่ค้าสามารถเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มเติม โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ลดภาษีนำเข้าของตนเอง รวมถึงยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น โควตา เงินอุดหนุนภายในประเทศ และข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทรัมป์เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาดุลการค้า
อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่แน่นอนในการตัดสินใจของรัฐบาลทรัมป์ ทำให้ยากที่จะคาดเดาสถานการณ์หลังสิ้นสุดช่วงเวลา 90 วันในต้นเดือนกรกฎาคม หากประเทศใดไม่สามารถตกลงกับสหรัฐฯ ได้ทันเวลา อาจต้องเผชิญกับการกลับมาจัดเก็บภาษีอีกครั้ง หรืออาจมีการประกาศขยายเวลาชั่วคราวออกไป เช่นเดียวกับกรณีของเม็กซิโกและแคนาดาในอดีต