Source: ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ยุทธศาสตร์ที่ผูกล่ามทุกรัฐบาล …ยกเว้น พล.อ.ประยุทธ์
1 มิ.ย. 66
tle”:”‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ยุทธศาสตร์ที่ผูกล่ามทุกรัฐบาล …ยกเว้น พล.อ.ประยุทธ์”,”abstract”:”ยุทธศาสตร์ชาติร่างขึ้นโดยเครือข่ายรัฐประหาร 2557 แต่ให้มีผลผูกพันต่อการจัดทำนโยบายและงบประมาณของทุกรัฐบาล ในแต่ละด้านมีตัวชี้วัด ซึ่งรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เอง ก็ไม่ผ่านตัวชี้วัด แต่ยังอยู่ในตำแหน่งได้”,”summary”:”‘ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี’ กำหนดช่วงเวลาไว้ 2561-2580 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมี พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ ประกาศใช้เมื่อ 13 ตุลาคม 2561\nยุทธศาสตร์ชาติร่างขึ้นโดยเครือข่ายรัฐประหาร 2557 แต่ให้มีผลผูกพันต่อการจัดทำนโยบายและงบประมาณของทุกรัฐบาล หากรัฐบาลชุดใดไม่ปฏิบัติตาม ก็อาจจะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปตลอดชีวิต\nแผนยุทธศาสตร์ 6 ด้าน จะมีการตั้งเป้าหมาย ตัวชี้วัด และความจำเป็นของการมียุทธศาสตร์ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นนามธรรม ตัวชี้วัดไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ ก็ไม่ผ่านตัวชี้วัดบางอย่าง แต่ยังอยู่ในตำแหน่งได้”,”widgets”:[{“__typename”:”Widget”,”layout”:”default”,”data”:[{“__typename”:”WidgetData”,”description”:”\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eคะแนนเสียงกว่า 26 ล้านเสียงที่ประชาชนมอบให้ 8 พรรคการเมือง ก้าวไกล เพื่อไทย ประชาชาติ ไทยสร้างไทย เสรีรวมไทย เป็นธรรม พลังสังคมใหม่ และเพื่อไทรวมพลัง เปรียบเสมือนการส่งสัญญาณจากประชาชนว่า ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง หรืออย่างน้อยที่สุด ประชาชนคาดหวังว่า พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมากที่สุดจะได้เป็นฝ่ายรัฐบาล\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u0026nbsp;แต่ท่ามกลางเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งมาจากการคัดเลือกของคณะรัฐประหารที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคการเมืองที่แม้จะมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มากที่สุด เป็นอันดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้รับการการันตีว่าจะได้เป็นรัฐบาล\u003c/p\u003e\u003cp\u003eยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนยังกังวลด้วยว่า หากพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกมาเป็นอันดับที่หนึ่งได้เป็นรัฐบาล จะถูกกลั่นแกล้งด้วยกลไกในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 อีกหรือไม่ โดยหนึ่งในกลไกที่ทำให้ผู้คนกังวลคือ ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ที่ร่างขึ้นโดยพลเอกประยุทธ์และเครือข่าย แต่ให้มีผลผูกพันต่อการจัดทำนโยบาย และงบประมาณของทุกรัฐบาล ซึ่งหากรัฐบาลชุดใดไม่ปฏิบัติตามก็อาจจะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปตลอดชีวิต\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eรัฐธรรมนูญ 60 จุดกำเนิดยุทธศาสตร์ชาติ\u0026nbsp;\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eคำว่า ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ถูกบัญญัติเป็นกฎหมายครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ดังนี้\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e“มาตรา 65 รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก\u2028ธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e“การจัดทำ การกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วยยุทธศาสตร์ชาติ\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\”เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้”\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ระบุความมุ่งหมายของมาตราดังกล่าวไว้ว่า เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีแนวทาง และกรอบเวลาที่ชัดเจนให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตาม\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ได้เขียนให้ยุทธศาสตร์ชาติมีผลผูกพันต่อการจัดทำงบประมาณ และนโยบายของรัฐบาลไว้ในมาตรา 142 และ 162 อีกทั้งมาตรา 275 ยังกำหนดด้วยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องจัดทำให้กฎหมายลูกเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ และต้องดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้เสร็จภายใน 1 ปี\u003c/p\u003e\u003cp\u003eต่อมา คณะรัฐมนตรีที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาและให้ความเห็นชอบ จนประกาศใช้เป็นกฎหมาย เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 ตุลาคม 2561 ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนดให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์เป็นผู้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่ ครม. แต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ยกร่างมา\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eเครือข่ายพลเอกประยุทธ์ร่าง วางอนาคต 20 ปี\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eหลัง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ ประกาศใช้ ครม. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติชุดแรก จำนวน 30 คน จาก 35 คน โดยแบ่งออกเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 18 คน ได้แก่\u003c/p\u003e\u003cul\u003e\u003cli\u003eนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานสภาผู้แทนราษฎร (ยังไม่มี)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานวุฒิสภา (พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่แทน)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eรองนายกรัฐมนตรีที่นายกฯ มอบหมาย (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eปลัดกระทรวงกลาโหม (พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eผู้บัญชาการทหารบก (พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eผู้บัญชาการทหารเรือ (พลเรือเอกณะ อารีนิจ)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eผู้บัญชาการทหารอากาศ (พลอากาศเอกจอม รุ่งสว่าง)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (พลเอกทวีป เนตรนิยม)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (กลินท์ สารสิน)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (เจน นำชัยศิริ)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eประธานสภาคมธนาคารไทย (ปรีดี ดาวฉาย)\u003c/li\u003e\u003cli\u003eเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ปรเมธี วิมลศิริ)\u003c/li\u003e\u003c/ul\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch3\u003eส่วนอีก 12 คน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ ครม. แต่งตั้ง ได้แก่\u003c/h3\u003e\u003cul\u003e\u003cli\u003eกานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส\u003c/li\u003e\u003cli\u003eชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ\u003c/li\u003e\u003cli\u003eเทียนฉาย กีระนันทน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ\u003c/li\u003e\u003cli\u003eบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย\u003c/li\u003e\u003cli\u003eพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี\u003c/li\u003e\u003cli\u003eพลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ\u003c/li\u003e\u003cli\u003eวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา\u003c/li\u003e\u003cli\u003eสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี\u003c/li\u003e\u003cli\u003eพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003c/ul\u003e\u003cp\u003eจากสัดส่วนที่มาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะพบว่า คณะกรรมการชุดนี้เป็นส่วนผสมของกลุ่ม ‘นายทุน-ขุนศึก-ศักดินา’ โดยพบว่า มีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนกลุ่มนายทุน 9 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 6 คน จากสภาเกษตรกร สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สมาคมธนาคาร และกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน ที่มาจากภาคธุรกิจ คือ กานต์ ตระกูลฮุน, ชาติศิริ โสภณพนิช และบัณฑูร ล่ำซำ\u003c/p\u003e\u003cp\u003eส่วนคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนกลุ่มขุนศึก หรือตัวแทนกองทัพ มีจำนวน 11 คน เป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน ได้แก่ พลเอกประยุทธ์ พลเอกประวิตร ปลัดกลาโหม ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ และมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 คน คือ พลอากาศเอกประจิน และพลเอกอนุพงษ์ ซึ่งกรรมการทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสมาชิกของคณะรัฐประหาร คสช. ทั้งสิ้น\u003c/p\u003e\u003cp\u003eส่วนกลุ่มศักดินาจะประกอบไปด้วยกลุ่มข้าราชการประจำและเทคโนแครต อีก 10 คน ได้แก่ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ รวมถึงบรรดานักกฎหมาย นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ วิษณุ เครืองาม, พรเพชร \u0026nbsp;วิชิตชลชัย, เทียนฉาย กีระนันทน์, พลเดช ปิ่นประทีป, ศุภชัย พานิชภักดิ์, สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, อุตตม สาวนายน และ สุวิทย์ เมษินทรีย์\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eกล่าวโดยสรุป คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติประกอบไปด้วยเครือข่ายคณะรัฐประหารที่มาจากกองทัพ ข้าราชการ และกลุ่มทุน ที่ทำงานกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น แผนยุทธศาสตร์ชาติ จึงไม่ต่างจากแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศแบบที่ คสช. ต้องการ และทุกรัฐบาลต้องเดินตาม ซึ่งแผนดังกล่าวมีการวางอนาคตล่วงหน้าถึง 20 ปี และจะให้ทบทวนปรับปรุงได้ทุกๆ 5 ปี\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแต่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่ได้อยู่ในตำแหน่งถาวร โดยเฉพาะคณะกรรมการโดยตำแหน่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวาระ แม้แต่พลเอกประยุทธ์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ก็จะไม่ได้เป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติอีกต่อไป\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eเช่นเดียวกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งชุดแรกได้หมดวาระลงแล้ว แต่พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจนายกฯ แต่งตั้งใหม่ไปเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2566 จำนวน 5 คน ได้แก่ วิษณุ เครืองาม, พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา, กานต์ ตระกูลฮุน, ชาติศิริ โสภณพนิช และ บัณฑูร ล่ำซำ\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ไร้วิสัยทัศน์\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกที่ถูกยกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติชุดแรก ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561 โดยมีเนื้อหาทั้งหมด 61 หน้า ตั้งเป้าให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายในปี 2580 หรือ ภายใน 20 ปี หลังจากประกาศแผนยุทธศาสตร์ชาติ\u003c/p\u003e\u003cp\u003eโดยเนื้อหาของแผนยุทธศาสตร์ชาติ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cul\u003e\u003cli\u003eยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003cli\u003eยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ\u0026nbsp;\u003c/li\u003e\u003c/ul\u003e\u003cp\u003eซึ่งแต่ละแผนยุทธศาสตร์จะมีการตั้งเป้าหมาย ตัวชี้วัด และความจำเป็นของการมียุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003ca href=\”https://www.the101.world/strategic-plan-or-pipe-dream/\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eสฤณี อาชวานันกุล \u003c/span\u003e\u003c/a\u003eนักวิชาการด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ เคยตั้งข้อสังเกตต่อแผนยุทธศาสตร์ชาติไว้ว่า แผนดังกล่าว มีลักษณะ ‘นามธรรม’ ค่อนข้างสูง และตัวชี้วัดขาดความชัดเจนเพียงพอ และยังไม่มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง\u003c/p\u003e\u003cp\u003eยกตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าเรื่องความยั่งยืน แผนระบุว่าจะ ‘ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน’ หรือ ‘มุ่งเป้าสู่การลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและภาคเอกชน’ ซึ่งเป็นกลไกในสนับสนุนที่ไม่มีรูปธรรม อีกทั้งยังขาดกลไกเชิงบังคับ เช่น การตั้งเป้ายกเลิกการสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล การนำร่องใช้ภาษีคาร์บอน การตั้งเป้าเลิกสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นต้น\u003c/p\u003e\u003cp\u003eอย่างไรก็ดี เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ชาติสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนดให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องจัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมา ก่อนจะมีการเผยแพร่และประกาศใช้เมื่อ\u003ca href=\”https://www.oap.go.th/images/documents/about-us/policy/Master_Plan_2561-80.PDF\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eวันที่ 18 เมษายน 2562\u003c/span\u003e\u003c/a\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eสฤณี อาชวานันกุล นักวิชาการที่ติดตามกลไกยุทธศาสตร์ชาติอย่างใกล้ชิด ได้ทำการศึกษาแผนแม่บทของยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว และพบว่า เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีตัวชี้วัดที่วัดไม่ได้จริง 72.2 เปอร์เซ็นต์ ตัวชี้วัดที่วัดไม่ได้จริง 21 เปอร์เซ็นต์ และตัวชี้วัดที่สภาพัฒน์รายงานว่ายังไม่ได้จัดทำอีก 6.8 เปอร์เซ็นต์\u003c/p\u003e\u003cp\u003eตัวอย่างของตัวชี้วัดที่วัดไม่ได้จริง เช่น แผนแม่บทในประเด็นการต่างประเทศ มีการกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยมีเกียรติภูมิ อำนาจต่อรอง และได้รับการยอมรับในสากลมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดจากระดับความสำเร็จของไทยในการสร้างความเข้าใจ/การยอมรับ ภาพลักษณ์ และความนิยมไทยในสากลด้วยอำนาจแบบนุ่มนวลของไทย แต่ไม่มีการระบุว่าจะวัดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมว่าจะวัดประเมินอย่างไร\u003c/p\u003e\u003cp\u003eต่อมาหลังประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติมาครบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2561-2565 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ ได้ให้ความเห็นชอบกับแผนแม่บทยุทธศาสตร์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อปี 2566 ซึ่งเนื้อหาและตัวชี้วัดของแผนดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่ได้ต่างจากเดิม\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003ca href=\”https://themomentum.co/citizen20-20year-national-strategy/\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eสฤณี อาชวานันกุล\u003c/span\u003e\u003c/a\u003e ระบุว่า แผนแม่บทฉบับแก้ไข มีตัวชี้วัดทั้งหมด 218 ตัว ในจำนวนนี้เป็นตัวชี้วัดเดิม 147 ตัว คิดเป็น 67.4 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวชี้วัดที่ถูกเปลี่ยนจากยุทธศาสตร์ชาติเดิม 44 ตัว คิดเป็น 20.2 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวชี้วัดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในฉบับแก้ไข 11 ตัว (5 เปอร์เซ็นต์) และมีตัวชี้วัด 16 ตัว (7.3 เปอร์เซ็นต์) ที่ถูกยกเลิกไปในยุทธศาสตร์ชาติฉบับแก้ไข\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eสฤณีระบุด้วยว่า แผนแม่บทหลายประเด็นเป็นนามธรรม กว้างเกินไป หรือไม่สะท้อนปัญหา หรือประเด็นการพัฒนาเป้าหมาย เช่น แผนย่อย ‘การบริหารจัดการการเงินการคลัง’ เพิ่มเป้าหมาย ‘ภาษีที่จัดเก็บถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ’ โดยใช้ตัวชี้วัด ‘การใช้จ่ายรายจ่ายภาพรวม รายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนของหน่วยงานภาครัฐ’ มีค่าเป้าหมาย ‘ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100’ แต่ตัวชี้วัดดังกล่าวบอกได้แต่เพียงว่า หน่วยงานแต่ละหน่วยใช้จ่ายเงินเต็มวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติมาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับ ‘ประสิทธิภาพ’ ของการใช้เงินซึ่งเป็นเป้าหมาย\u003c/p\u003e\u003cp\u003eนอกจากนี้ แผนยุทธศาสตร์ชาติยังไร้วิสัยทัศน์ เช่น ไม่มีเรื่องแผนการจัดการฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่หนักหนาสาหัสขึ้นทุกปี ใกล้เคียงที่สุดมีเพียงตัวชี้วัด ‘จำนวนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน’ ในแผนแม่บทประเด็น ‘พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ’ เท่านั้น ซึ่งกว้างมากและมีหลายมิติ ไม่มีการพุ่งเป้าไปยังปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างเฉพาะเจาะจง\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eยุทธศาสตร์ที่ผูกล่ามทุกรัฐบาล ยกเว้นรัฐบาลประยุทธ์\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eเพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติมีสภาพบังคับ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้วางกลไกในการบังคับ ติดตาม และลงโทษ หน่วยงานรัฐหรือรัฐบาลที่ไม่ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติไว้ ดังนี้\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cul\u003e\u003cli\u003eมาตรา 26 กำหนดว่า เมื่อหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บท คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติมีหน้าที่แจ้งให้หน่วยงานของรัฐนั้นทราบ พร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุง หากหน่วยงานของรัฐไม่ดําเนินการแก้ไขปรับปรุง ให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติรายงานให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติทราบ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้สั่งการหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการแก้ไข แต่หากยังไม่ดำเนินการให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาลงโทษหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น\u003c/li\u003e\u003cli\u003eมาตรา 29 กำหนดว่า หากหน่วยงานของรัฐทำงานไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บท อันเป็นผลจากมติ ครม. หรือเป็นการดําเนินการของ ครม. ให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติแจ้งให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและวุฒิสภาทราบ โดยวุฒิสภาสามารถเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดําเนินการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกา\u003c/li\u003e\u003c/ul\u003e\u003cp\u003eโดยบทลงโทษของหน่วยงานรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บท คือ การให้ ป.ป.ช. ชี้มูล และให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหานั้นสั่งให้ผู้นั้นพักราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน หรือสั่งให้พ้นจากตําแหน่ง\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแต่หากเป็นความผิดของ ครม. หรือ รัฐบาล ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองพิจารณาหากตัดสินว่าผิด ให้ ครม. พ้นไปจากหน้าที่ และถูกเพิกถอนสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้ง หรือสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี โดยผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกต่อไป นอกจากนี้ ครม. ยังอาจถูกฟ้องฐานทุจริตต่อหน้าที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ตามมาตรา 172 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้อีกด้วย\u003c/p\u003e\u003cp\u003eอย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทยังไม่มีการบังคับใช้กลไกเอาผิดกับรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้จะพบว่า รัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eยกตัวอย่างเช่น \u003ca href=\”http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/03/masterplan_updated2023_080363.pdf\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eในแผนแม่บทด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งฉบับแรก\u003c/span\u003e\u003c/a\u003e กำหนดตัวชี้วัดเรื่องประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบไว้ว่า ภายในปี 2565 ประเทศไทยจะมีดัชนีการรับรู้การทุจริตไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน และอยู่ในอันดับไม่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 54 แต่จากข้อมูลที่\u003ca href=\”https://www.sdgmove.com/2023/02/02/cpi-corruption-perceptions-index-2022/\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) \u003c/span\u003e\u003c/a\u003eเผยแพร่ พบว่า คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทยอยู่ที่ 36 คะแนน และอยู่ในอันดับที่ 101 หมายความว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าว\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหรือใน\u003ca href=\”http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2019/04/22-%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.pdf\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eแผนแม่บทด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม\u003c/span\u003e\u003c/a\u003e กำหนดเป้าหมายว่า การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปโดยความเสมอภาค โปร่งใส เป็นธรรม ทั่วถึง และปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยวัดจากดัชนีนิติธรรม ซึ่งภายในปี 2565 กำหนดให้ คะแนนในด้านการจำกัดอำนาจรัฐ รัฐบาลโปร่งใส สิทธิขั้นพื้นฐาน และความเป็นระเบียบและความมั่นคง ต้องไม่ต่ำกว่า 0.65 แต่ข้อมูลจาก \u003ca href=\”https://worldjusticeproject.org/rule-of-law-index/country/2022/Thailand\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003e\u003cspan style=\”color: rgb(97, 189, 109);\”\u003eWorld Justice Project\u003c/span\u003e\u003c/a\u003e ปี 2022 ระบุว่า คะแนนในด้านการจำกัดอำนาจรัฐ อยู่ที่ 0.45 คะแนนรัฐบาลโปร่งใสอยู่ที่ 0.48 คะแนนด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน อยู่ที่ 0.46 มีเพียงคะแนนด้านความเป็นระเบียบและความมั่นคง ที่ได้คะแนน 0.74\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eเมื่อพิจารณาจากที่มาขององค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึง ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ จะพบว่ามีความยึดโยงกันทั้งทางตรงและทางอ้อมกับ คสช. ดังนั้น กลไกการตรวจสอบหรือลงโทษรัฐบาลจากการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติจึงไม่เกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มันก็สร้างความกังวลว่า หากเป็นรัฐบาลที่ไม่ใช่ คสช. กลไกต่างๆ ที่เคยยึดโยงกับ คสช. จะนำแผนยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งทางการเมืองหรือไม่\u003c/p\u003e”,”thumbnails”:[“https://media.thairath.co.th/image/CzXvkrHFN2pFaiWEa2UOO9jnJPc5vOXxAGReZeq6aZce9vA1.jpg”]}]}],”categories”:[{“__typename”:”Category”,”_id”:”608b83c7349fd9fb0e785b28″,”value”:”politics”,”label”:”Politics”}],”topic”:[{“__typename”:”Topic”,”_id”:”607e84c9349fd9fb0e5fa482″,”value”:”spark”,”label”:”Spark”}],”subtopic”:[{“__typename”:”SubTopic”,”_id”:”607e86c9349fd9fb0e5fa482″,”value”:”opinion”,”label”:”Opinion”}],”tags”:[“ยุทธศาสตร์ชาติ”,”ประยุทธ์ จันทร์โอชา”,”คสช”,”รัฐธรรมนูญ 60″],”status”:”30″,”created_time”:”2023-06-01T15:00:03+07:00″,”updated_time”:”2023-06-01T15:19:03+07:00″,”gallery”:[],”assign_to”:”user_id”,”publish_time”:”2023-06-01T15:19:03+07:00″,”expire_time”:null,”unlist”:false,”premium_type”:”10″,”allow_comment”:false,”cover”:”https://media.thairath.co.th/image/CzXvkrHFN2pFaiWEa2UOO8dwVT4IeLoCxjp1V2HANGZa0ge9vA1.png”,”share”:”https://media.thairath.co.th/image/CzXvkrHFN2pFaiWEa2UOO7KfVO83zp1V2xkCj75rGX1kp1V2Ue9vA1.png”,”follow”:{“__typename”:”Follow”,”_id”:null,”title”:null,”description”:null,”cover”:null},”quotes”:[],”author”:{“__typename”:”Author”,”_id”:”6114ec6418fd930012bb96e5″,”first_name”:”ณัชปกร”,”last_name”:”นามเมือง”,”profile_image”:”https://media.thairath.co.th/image/w52NX6p1V2xxbiVPU5SQrN0RoPNIBICZhcdkrFTDf5ZHAUe9vA1.jpeg”,”description”:”ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ ผู้เชื่อว่าการเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งของการมีชีวิตที่ดี และเลือกหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร”,”slug_name”:”6114ec6418fd930012bb96e5″}},”topic”:{“__typename”:”Topic”,”_id”:”607e84c9349fd9fb0e5fa482″,”value”:”spark”,”label”:”Spark”,”desc”:”จุดประกายความคิดผ่านมุมมองใหม่”,”link”:”/topic/spark”,”uderColor”:”#00FF00″,”bgImg”:”/static/images/topic/Spark.jpg”},”metatags”:{“__typename”:”Metatag”,”path”:”/topic/spark”,”title”:”Spark : จุดประกายความคิดผ่านมุมมองใหม่”,”description”:”จุดประกายความคิด สร้างสรรค์ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ผ่านเนื้อหา ข้อมูลและความเห็น ที่ช่วยเติมแง่มุมใหม่ๆ ให้เราและผู้อ่านเดินหน้าไปได้ในระนาบเดียวกัน”,”update_time”:”2021-08-09T15:44:39+07:00″,”cover_url”:null}}},”page”:”/article”,”query”:{“topic”:”spark”,”id”:”103261″},”buildId”:”yk2p440K0VE01d-2u00lf”,”isFallback”:false,”dynamicIds”:[“55/W”,”t43D”,”ubkq”,”M2JU”,”7641″,”BBp1″,”vF1F”,”qb6U”,”g4Js”,”fJqv”,”uYMR”,”DVjF”,”UlHy”,”WhLL”,”fZCS”,”/RN/”,”tY9x”,”7Rmi”,”bW1M”,”XVqB”],”customServer”:true,”gip”:true}