You are currently viewing ย้อนมหากาพย์ GT200 เมื่อหมอพรทิพย์ถูกฟ้อง ทำไมทหารยังรอด?

ย้อนมหากาพย์ GT200 เมื่อหมอพรทิพย์ถูกฟ้อง ทำไมทหารยังรอด?

Source: ย้อนมหากาพย์ GT200 เมื่อหมอพรทิพย์ถูกฟ้อง ทำไมทหารยังรอด?

Summary

  • เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์สั่งฟ้อง แพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ส.ว. ในฐานะอดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด GT200 และ Alpha 6 จำนวน 4 สัญญา\n
  • สรุปโดยรวมค่าความเสียหายทั้งหมดในระหว่างปี 2548-2553 หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยจัดซื้อเครื่อง GT200 และ Alpha 6 มาใช้ทั้งสิ้น 1,354 เครื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,135 ล้านบาท\n
  • ในปี 2556 ศาลอังกฤษ มีคำพิพากษาตัดสินจำคุกผู้บริหารบริษัทที่ผลิต GT200 ในความผิดฐานฉ้อโกง และผลสอบสวนของ DSI นำมาสู้การฟ้องร้องบริษัทอังกฤษและบริษัทตัวแทนจำหน่ายในไทย โดยเรียกค่าเสียหาย 683 ล้านบาท\n
  • แพทย์หญิงพรทิพย์ ตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการสอบสวนของ ป.ป.ช. ที่ผ่านมาไม่เคยทราบกระบวนการตรวจสอบ และผ่านมา 10 ปีแล้ว ทำให้ยากต่อการหาเอกสารหลักฐานที่ยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง พร้อมข้อสงสัยในคดีที่โดนคนเดียว แต่ผู้บริหารที่เหลือซึ่งเป็นทหารไม่โดน

กลับมาอีกครั้งกับประเด็น GT200 หนึ่งในตำนานเครื่องตรวจระเบิดลวงโลกที่ไทยถูกหลอกเข้าเต็มเปา สร้างความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท และถูกกล่าวขานว่าเป็น ‘ค่าโง่’ มาถึงทุกวันนี้\u003c/p\u003e\u003cp\u003eโดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเอกฉันท์สั่งฟ้อง \u003cstrong\u003eแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์\u003c/strong\u003e ส.ว. ในฐานะอดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด GT200 และ Alpha 6 จำนวน 4 สัญญา ขณะนี้ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักคดีเพื่อร่างคำฟ้อง ก่อนส่งฟ้องแก่ศาลที่เกี่ยวข้องต่อไป\u003c/p\u003e\u003cp\u003eจากที่ก่อนหน้านี้เคยชี้มูลความผิดแล้ว สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) สั่งไม่ฟ้อง โดยระบุว่า พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟ้องแพทย์หญิงพรทิพย์ แต่ ป.ป.ช.เชื่อว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติให้ยื่นฟ้องเอง\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eด้านแพทย์หญิงพรทิพย์ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ผ่านอินสตาแกรมว่า ทราบถึงถูก ป.ป.ช. มีมติให้ดำเนินคดีเรื่อง GT 200 แล้ว ทั้งที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง หลายคนตกใจ ห่วงใย บางคนอาจบูลลี่ถล่มซ้ำ ก็ต้องขอบคุณ\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“นับเป็นความคืบหน้า เป็นความชัดเจน และนับว่าจะใกล้จุดสิ้นสุดของเรื่องหนักๆเสียที คนไม่เคยลงปฏิบัติงานในพื้นที่จะไม่เข้าใจความเหนื่อยยาก ความลำบาก อันตรายที่มีตลอดเวลา เวลาทำงานต้องมีสติ ต้องเร่งให้เสร็จเร็ว เพราะมีแต่อันตราย”\u003c/p\u003e\u003cp\u003eและแพทย์หญิงพรทิพย์ ยังได้เล่าย้อนอดีตว่า ยามนั้นมีคนทำงานไม่มาก ทีมที่ลงใต้ก็ต้องทำงานสนับสนุนเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง หากจะมีความผิดพลาดก็หาใช่การทุจริตคอร์รัปชันตามที่ถูกกล่าวหา และที่สำคัญจะไม่ปล่อยให้ทีมงานต้องต่อสู้โดยลำพังแน่นอน และจะต่อสู้ด้วยตัวเอง เชื่อว่าจะผ่านได้แน่นอน\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eไม้ล้างป่าช้าในตำนาน ที่หมอพรทิพย์เคยยืนยัน ‘ใช้ได้จริง’\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eหากย้อนกลับไปสำหรับคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด GT200 และ Alpha 6 ที่เครื่องเหล่านี้เป็นประเด็นอื้อฉาวระดับโลก และถูกพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าใช้งานไม่ได้จริง เป็นเพียงกล่องพลาสติกเปล่าๆ ติดเสาหนวดกุ้งเท่านั้น\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eโดย \u003cstrong\u003eรศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์\u003c/strong\u003e อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้ที่ออกมาตั้งข้อสงสัยกับ GT200 ในตอนนั้นเชื่อว่า เครื่องมือนี้ไม่ต่างอะไรกับ ‘ไม้ล้างป่าช้า’ ที่หลักการทำงานคล้ายไม้ดาวซิง (dowsing rod) เป็นไม้ หรือแท่งโลหะ ใช้เพื่อหาแหล่งน้ำใต้ดิน โลหะ สมบัติ หรือใช้หาศพในป่าช้าที่มีการฝังศพแบบสุ่มๆ ไม่มีการปักป้ายบอกตำแหน่ง แม้หลายยุคสมัยจะใช้กันแพร่หลาย แต่ปัจจุบันไม่มีวิทยาศาสตร์ใดๆ รองรับ

รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่วนในเรื่องที่เสานั้นหมุนได้ รศ.เจษฎา ระบุเหตุผลไว้ว่า\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“การที่เสาอากาศของเครื่องหมุนได้นั้น ไม่ได้เกิดจากหลักแม่เหล็กดูดผลักตามที่บริษัทกล่าวอ้าง แต่เป็นผลจากผู้ใช้เครื่องทำให้เสาอากาศหมุนเอง โดยอาจจะตั้งใจเอียงเครื่อง เพื่อชี้ หรือเป็นความบังเอิญในการเอียงเครื่องระหว่างการเดิน ซึ่งแรงเฉื่อยจากร่างกายผู้ใช้ได้ส่งถ่ายต่อไปยังเครื่อง ทำให้เสาอากาศหมุนได้เมื่อเอียงออกจากนอกจุดศูนย์ถ่วงที่เสถียรของเครื่อง”\u003c/p\u003e\u003cp\u003eทางด้านแพทย์หญิงพรทิพย์ ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ขณะนั้น ก็ออกมาโต้อย่างมั่นใจว่า \u003cstrong\u003e‘ใช้ได้ผล ทำงานได้จริง’\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eซึ่งการที่จะพิสูจน์ว่ามีระเบิดสถานที่ใดไม่อาจเชื่อเครื่องมือได้ตัวเดียว กองทัพต้องปรับปรุงเครื่องมือ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะไปห้ามไม่ให้ใช้ในการป้องกันตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในอันตราย มีอะไรให้เจ้าหน้าที่เชื่อมั่นได้ก็ยังดีกว่าไม่มี\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“คนไทยชอบเต้นตามกระแส การทำงานจะใช้เครื่องมืออะไรคิดว่า นักวิทยาศาสตร์ หรือ หมอ ทหาร โง่นักหรือ ที่บอกว่าไปใช้เครื่องมือโดยไม่ดูว่าเครื่องมันทำอะไรได้ อะไรที่ดำๆ ไม่ได้แปลว่าไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ เราจะทำอะไรเราต้องลองมัน เมื่อปฏิบัติแล้ว มันเกิดใช้ได้ เราก็ต้องมาดูว่าสิ่งที่ใช้อันนี้ เหมาะกับการใช้เป็นหลักฐานหรือไม่ คำตอบคือ GT200 ไม่เหมาะ เราจึงไม่เคยใช้ผลการตรวจ GT200 เป็นหลักฐานทางคดี แค่ทำให้เราทำงานง่ายขึ้นเท่านั้นเอง”\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแพทย์หญิงพรทิพย์เคยยืนยันไว้อีกว่า\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“เป็นเครื่องที่สามารถหาสารวัตถุระเบิดได้อย่างดีเยี่ยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยใช้หลักการค้นหาสนามแม่เหล็ก ซึ่งสามารถตรวจจับสารวัตถุระเบิดได้ทั้งในอากาศ บนดิน ใต้ดิน หรือกระทั่งในน้ำได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกับไมค์ลอย แต่มีชิป-การ์ดในนั้น ทำหน้าที่ตรวจจับสาร”

จุดเริ่มต้นและจุดจบของ GT200
จากที่ GT200 เริ่มวางจำหน่ายในปี 2544 โดยผลิตและจำหน่ายในอังกฤษ และขายดิบขายดีในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่าง ไทย เม็กซิโก ตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ต่อมาได้มีบริษัทอังกฤษอีก 2 แห่ง ขายเครื่องมือที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ทั้ง ADE-651 และ Alpha 6\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eประเทศไทยจึงได้เริ่มนำ GT200 เข้ามาใช้จากหน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดของกองทัพอากาศที่นำมาใช้ที่สนามบินบ่อทอง จ.ปัตตานี โดย EOD หรือหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด ของกองทัพบกเห็นว่ามีประสิทธิภาพดี จึงขอยืมมาทดสอบ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ต่อมาจึงเสนอเรื่องให้ \u003cstrong\u003eพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน\u003c/strong\u003e ผู้บังคับบัญชาระดับสูงกองทัพบก (ผบ.ทบ.) ในสมัยนั้น อนุมัติงบในการจัดซื้อ โดยได้จัดซื้อเมื่อปี 2548 จำนวน 4 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 1.4 ล้านบาท (รวมการ์ด 20 ใบ) จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหลังจากนั้นหน่วยงานรัฐต่างๆ ได้จัดซื้อ GT200 มาใช้งาน เพราะเห็นว่า กองทัพอากาศไทยนำมาใช้ตรวจอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดในสามจังหวัดชายแดนใต้หลายครั้ง และได้ผลดีจนเป็นที่เชื่อมั่นของหลายหน่วยงาน\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eกระทั่งเมื่อปลายปี 2552 เกิดเหตุคาร์บอมบ์ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส แต่เครื่อง GT200 กลับใช้งานไม่ได้ผล ต่อมาเกิดเหตุระเบิดที่ตลาดสดรถไฟ จ.ยะลา GT200 ก็ใช้งานไม่ได้ผลเช่นเดียวกัน จากความผิดพลาดในการใช้งาน GT200 หลายครั้ง ทำให้เกิดข้อสงสัยของคนในสังคม ถึงประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จนนำไปสู่การเรียกร้องให้ตรวจสอบ พิสูจน์การทำงานของ GT200 ขึ้นมา\u003c/p\u003e\u003cp\u003eต่อมา สื่ออังกฤษออกมารายงานว่า กระทรวงต่างประเทศอังกฤษประกาศรีบส่งคำเตือนเร่งด่วนไปยังรัฐบาลทุกประเทศที่อาจซื้อเครื่องมือตรวจระเบิดอย่าง ADE-651 และ GT200 ไปใช้ โดยระบุว่า ‘ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง’ ในการตรวจหาระเบิด\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหลังจากที่มีการตั้งข้อสังเกตจนนำไปสู่การถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง \u003cstrong\u003eอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ได้มอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยทดลองนำวัตถุระเบิดใส่กล่องแบบสุ่ม และได้ผลการพิสูจน์ว่าการใช้ GT200 ไม่แตกต่างจากการสุ่มเอา หรือเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สุนัขดมกลิ่น พบว่าได้ผลมากกว่า ทำให้ อภิสิทธิ์ สั่งระงับการซื้อทันที\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eความโง่ในแง่ดี ไม่วางใจ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อุ่นใจ\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eสรุปโดยรวมค่าความเสียหายทั้งหมดในระหว่างปี 2548-2553 หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยจัดซื้อเครื่อง GT200 และ Alpha 6 มาใช้ทั้งสิ้น 1,354 เครื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,135 ล้านบาท\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eโดยเฉพาะปี 2551-2552 ยุคที่ \u003cstrong\u003eพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา\u003c/strong\u003e เป็นผู้บัญชาการทหารบก มีการสั่งซื้อเครื่อง GT200 รวม 541 เครื่อง

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น

จากนั้นในปี 2556 ศาลอังกฤษ มีคำพิพากษาตัดสินจำคุกผู้บริหารบริษัทที่ผลิต GT200 ในความผิดฐานฉ้อโกง\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eส่วนในประเทศไทย ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สรุปผลสอบสวน 2 กรณี คือ ความไม่สุจริตที่หน่วยรัฐจัดซื้อในราคาที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 500,000-1,600,000 บาท และบริษัทที่เสนอราคาขายต่อหน่วยงานรัฐ\u003c/p\u003e\u003cp\u003eDSI พบว่า มีหน่วยงานรัฐที่จัดซื้อเครื่อง GT200 และ Alpha 6 จำนวน 19 หน่วยงาน สูญเงินมากกว่า 1,135 ล้านบาท นำมาสู่การฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตที่อังกฤษ 1 แห่ง บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย 2 แห่ง บริษัทตัวแทนจำหน่ายช่วงต่อในไทยอีก 4 แห่ง รวมเป็น 7 แห่ง ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง โดยเรียกค่าเสียหาย 683 ล้านบาท\u003c/p\u003e\u003cp\u003eต่อมาเมื่อในปี 2555 มีการยื่นคำร้องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ กระทั่งผ่านไปกว่า 9 ปี เพิ่งมีการชี้มูลความผิดทั้งทางอาญาและวินัย ผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ และคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างฯ จากหน่วยงาน 20 แห่ง รวมเกือบ 100 คน \u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eต่อมาเมื่อปี 2559 สำหรับเงินหลักพันล้านจากภาษีประชาชนเรียกว่า ‘ค่าโง่’ ได้หรือไม่\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003eวิษณุ เครืองาม\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eออกมาเฉลยเองว่า\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“เรียกเป็นค่าโง่ได้หรือไม่ คงต้องแล้วแต่สื่อ แต่มันไม่ดี เพราะทำให้เกิดความรู้สึกว่าอะไรที่ควักเงินซื้อดูจะเรียกเป็นค่าโง่ทั้งหมด ถ้าเรียกได้ก็เป็นค่าฉลาด ที่สำคัญถือเป็นค่าซื้อความรู้ แต่แพงไปหน่อย”\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p

แพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์

ในปีเดียวกันแพทย์หญิงพรทิพย์ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กว่า\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“มองในแง่ดีก็ถือเป็นโอกาสได้อธิบาย แต่คนที่ปักใจด่าก็คงไม่เปลี่ยนใจ ประเด็นหลักๆ คือ 1.การใช้เครื่องมือนี้คือความโง่ของเจ้าหน้าที่ตามที่กล่าวหาหรือไม่ 2.เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรือไม่ และ 3.มีการทุจริตในการซื้อหรือไม่\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“หากมีใจเป็นธรรมย่อมเข้าใจคนทำงานในเหตุการณ์ระเบิดรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่เมื่อทราบว่ามีอุปกรณ์ที่พอตรวจสอบระเบิดจากระยะไกลที่มีต่างประเทศใช้ คนทำงานย่อมรู้สึกอุ่นใจ แม้ว่าจะวางใจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต่อมามีประเด็นเรื่องการทุจริตก็ควรแยกแยะว่านั่นคือเรื่องที่ต้องตรวจสอบคนซื้อ คนขาย\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“เมื่อครั้งนั้นหมอเพียงออกมาปกป้องการกล่าวหาว่าคนทำงานโง่ ทั้งๆ ที่เขามีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตลอดเวลา หมอไม่ได้ปกป้องว่าเครื่องนี้ดี แต่คนในสังคมเชื่อง่าย เสพข้อมูลจากสื่อที่ใส่สีโดยไม่ฟังความจริงใดๆ สิ่งที่ทำให้ไม่มีการรับฟังอีกเลยคือสังคมมีการแบ่งฝ่ายเอาทุกเรื่องมาโยงกัน\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“สำคัญที่สุดคือการใช้ social media กล่าวหาใส่ร้ายกันอย่างขาดความรู้ผิดชอบชั่วดี โอกาสที่จะฟังความจริงจึงไม่เหลือ หมอได้ปล่อยวางหมดแล้ว ตัวเราเท่านั้นที่รู้ว่าเราทำอะไรถูกหรือผิด จิตจะไม่ไปผูกกับสิ่งรอบตัวให้รุงรัง คนที่ด่าคนอื่นก็ต้องทุกข์เพราะเกลียดโกรธเขา\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“ขอบคุณโอกาสที่กลับมาให้ชี้แจง จะฟังหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับได้ทำหน้าที่แล้ว”\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eไล่เช็กบิลคดีในไทย ตั้งข้อสงสัยทำไมทหารไม่โดน\u003c/h2\u003e\u003cp\u003eต่อมาเมื่อปี 2561 ศาลตัดสินคดีฉ้อโกงเครื่องตรวจจับอาวุธ GT200 บริษัทตัวแทนจำหน่ายในไทย ในความผิดฐานฉ้อโกง ทุจริตหลอกลวง แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความซึ่งเป็นข้อความตามจริง เสนอขายเครื่องตรวจจับอาวุธวัตถุระเบิดและยาเสพติดรุ่น GT200 แก่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม มูลค่า 6.8 ล้านบาท\u003c/p\u003e\u003cp\u003eในการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2566 วาระที่ 1 วันสุดท้าย 2 มิถุนายน 2565 จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ส.ส.ก้าวไกล ได้หยิบเอาตำนาน GT200 มาพูดถึงในสภาอีกครั้ง\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eจากการพบการใช้งบที่ไม่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงกลาโหม เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2565 กองทัพบกได้ทำสัญญาจ้างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 757 เครื่อง รวมมูลค่าทั้งหมด 7,570,000 บาท หรือหารแล้วตกเครื่องละ 10,000 บาท\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eกลายเป็นประเด็นขึ้นมาอีก เรื่องที่ดูทีท่าจะมีไม่รู้จบกับการตัดสินคดีนี้ แม้จะได้รับคำตอบกลับจาก พลเอกคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ว่าเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และทางกองทัพบกให้เหตุผลว่า การตรวจสอบ GT200 จำนวน 757 เครื่องนี้ มาจากคำแนะนำของ ‘สำนักงานอัยการสูงสุด’ โดยเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท\u003c/p\u003e\u003cp\u003eจนกระทั่งวันนี้ในปี 2566 มหากาพย์ GT200 รวมกว่า 19 ปี ที่มีการสั่งฟ้องแพทย์หญิงพรทิพย์ ซึ่งเจ้าตัวให้สัมภาษณ์กับพีพีทีวีตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการสอบสวนของ ป.ป.ช. เพราะทุกสัญญาที่จัดซื้อเครื่อง GT200 และ Alpha 6 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จัดซื้อตั้งแต่ปี 2551-2552 ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยทราบกระบวนการตรวจสอบของ ป.ป.ช. เพิ่งมารู้ว่ามีชื่ออยู่ในสำนวนในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ขณะที่คดีใกล้หมดอายุความ ซึ่งเวลาผ่านมา 10 ปีแล้ว ทำให้ยากต่อการหาเอกสารหลักฐานที่ยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง\u003c/p\u003e\u003cp\u003eส่วนประเด็นที่มีเอี่ยวเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ เรื่องนี้แพทย์หญิงพรทิพย์ให้คำตอบว่า\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“หมอโดนคนเดียว ผู้บริหารที่เหลือซึ่งเป็นทหารไม่โดน ก็ต้องมีอะไรบางอย่าง เพราะอยู่ในช่วงของรัฐบาลปฏิวัติ รัฐบาลแบบไหนก็ตาม สุดท้ายต้องเอาการเมืองเข้ามาแทรกในการสรรหาเสมอ ปฏิเสธไม่ได้ แต่ทีนี้มากระทบคนอย่างเราซึ่งไม่ได้อิงการเมือง เราตั้งใจทำงาน”

Leave a Reply

The maximum upload file size: 500 MB. You can upload: image, audio, video, document, spreadsheet, interactive, other. Links to YouTube, Facebook, Twitter and other services inserted in the comment text will be automatically embedded. Drop file here