Source: บุกวัดลับย่านฝั่งธนฯ ดูงานแสดงไฟในวิหาร แล้วล้อมวงฟังประวัติศาสตร์ชุมชนผ่านหนังกลางแปลง
ปวีณ์กานต์ อินสว่าง
สำรวจสถานที่ในเมือง แบบที่เราอาจไม่เคยเห็นมาก่อนกับงาน UNFOLDING BANGKOK ภายใต้คอนเซปต์ HIDDEN TEMPLE วัด (ลับ) ย่านฝั่งธนฯ ในคราวนี้เราจะพาไปตะลุยวัดภุมรินทร์ราชปักษี พร้อมกิจกรรมการฉาย Projection Mapping เวิร์กช็อป และการบอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชน
\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eสถานที่ที่เราจะไปเที่ยววันนี้อยู่ห่างจากบ้านเราชนิดเดินได้ แต่เชื่อไหมว่าเรากลับไม่เคยได้ยินชื่อของ ‘\u003cstrong\u003eวัดภุมรินทร์ราชปักษี\u003c/strong\u003e’ มาก่อน ทั้งๆ ที่เป็นวัดที่อยู่คู่พื้นที่ย่านฝั่งธนแถวบ้านเรามานานตั้งแต่ก่อนจะตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ แถมภายในวิหารก็มีภาพจิตรกรรมบอกเล่าเรื่องราวในพุทธประวัติที่สวยงาม และละเอียดลออ (มากๆ) ซึ่งสันนิษฐานกันว่าภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นเมื่อครั้งมีการบูรณะวัดในสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่เกินรัชกาลที่ 4 โดยช่างสกุลวังหน้า กลุ่มช่างที่เก่งกาจในสมัยนั้น\u003c/p\u003e\u003cp\u003eทั้งๆ ที่ในความคิดของเรา คือ หากมีศิลปะที่สวยงามขนาดนี้อยู่ในวัด คงน่าจะทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นที่รู้จัก ใครๆ ก็คงต้องอยากมาสักการะเยี่ยมชม แต่ความจริงกลับไม่ใช่อย่างนั้น เพราะวัดภุมรินทร์ราชปักษี ไม่ได้เป็นเพียงแค่วัดที่ถูกหลงลืมจากคนในพื้นที่ หากแต่คือ ‘วัดร้าง’ ที่จะเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันสำคัญเท่านั้น\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eการที่เราได้มาชมความสวยงามของวัดในวันนี้ ก็เพราะจนถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2565 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ Urban Ally และศูนย์ข้อมูลสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เขามีการจัดงาน \u003cstrong\u003eUNFOLDING BANGKOK\u003c/strong\u003e ภายใต้คอนเซปต์ \u003cstrong\u003eHIDDEN TEMPLE วัด (ลับ) ย่านฝั่งธนฯ\u003c/strong\u003e ขึ้นมา และงานนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล \u003cstrong\u003eColorful Bangkok 2022\u003c/strong\u003e ด้วย\u003c/p
\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p
\u003e\u003cp\u003eโดยกิจกรรมภายในงานมีตั้งแต่การฉาย Projection Mapping และ Interactive Projection เวิร์กช็อปทำพวงมโหตร การแสดงดนตรีไทย การละเล่นผีลอบ หรือการละเล่นเชิงความเชื่อและจิตวิญญาณของชุมชนบางกอกน้อย รวมไปถึงตลาดเล็กๆ ให้แวะชิมอาหารในย่าน ไปจนถึงการฉายหนังกลางแปลงดูสารคดีเกี่ยวกับชุมชน และรับชมหนังฮิตอย่าง Friend Zone สิ้นสุดทางเพื่อน และแฟนฉัน\u003c/p\u003e\u003cp\u003eอย่างที่บอกว่าวัดแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากบ้านเรานัก พอเห็นว่ากิจกรรม Projection Mapping จะเริ่มแสดงชุดแรกตอนหกโมงเย็น เราที่ลืมคิดเรื่องการเผื่อเวลามาต่อคิวเลยออกเดินทางมาถึงวัดเวลางานเริ่มแบบพอดีเป๊ะ เลยได้รับคิวให้เข้าชมในเวลาสองทุ่มไปตามระเบียบ (แต่โชคดีที่มีคนวิ่งมาสละคิวเพราะเพื่อนมาไม่ทันพอดี เราเลยได้เข้าชมรอบแรกแบบงงๆ ใครที่อยากมาแบบกลับไม่ดึก อย่าลืมเผื่อเวลานะ การแสดงประมาณ 20 นาที เข้าชมได้ครั้งละ 15 คน)\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหลังได้บัตรจากคุณพี่ใจดี นั่งรอเพียงไม่นาน คนดูแลก็ทยอยปล่อยให้ 15 คนแรกเข้าไปในตัววิหารที่มืดสนิท จากนั้นก็ค่อยๆ มีแสงต่างๆ ปรากฏมารอบๆ บริเวณ พร้อมฉายไปยังภาพจิตรกรรม และพระประธานด้านหลังบ้างบางครั้ง ชวนให้ตื่นตาตื่นใจ
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnE7czZr5Cp1V2PnfQO3pKyBOr8e9vA1.png
\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003eศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายเกี่ยวกับงานครั้งนี้ไว้ว่า\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“งานที่ศิลปินทำขึ้นมาจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์สำคัญ 15 อย่าง ไล่เรียงกันมาตามเนื้อหาในพุทธประวัติ โดยสัญลักษณ์นั้นแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือสัญลักษณ์ภาพจิตรกรรมว่าด้วย สัตตมหาสถาน หรือสถานที่สำคัญ 7 แห่งหลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้ไปเสวยวิมุตติสุขใน 7 แห่งนั้น เช่น เมื่อพูดถึง โพธิบัลลังก์ หากสังเกตใน Projection Mapping ก็จะมีเส้นของต้นโพธิ์อยู่ด้านหลังพระประธาน หรือเมื่อพูดถึงสัปดาห์ที่มีฝนตกลงมาหนักมากแล้วมีพญานาคขึ้นมาแผ่พังพานบังฝนให้พระพุทธเจ้า ศิลปินก็จะทำเป็นเงาของพญานาคขึ้นมา”\u003c/p\u003e\u003cp\u003e“ส่วนที่สองในคัมภีร์โบราณเรียกว่า อัฏฐมหาสถาน หรือสถานที่สำคัญ 8 แห่งที่พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ครั้งสำคัญ โดย Projection Mapping ก็จะฉายภาพเหตุการณ์สำคัญนั้นๆ ขึ้นมา เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างธนปาลหัตถี สยบช้างที่ดุร้ายให้เชื่อง ก็จะมีภาพช้างสีแดงสื่อถึงความโกรธเกรี้ยววิ่งออกมา จากนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีของช้างเป็นสีทองแล้วค่อยๆ ยกงวงขึ้นเพื่อสื่อถึงความพุทธบูชาต่อหน้าพระพุทธเจ้า หรือในตอนที่พระพุทธเจ้าขึ้นไปโปรดพุทธมารดา ก็จะมีภาพเหมือนเทวดากำลังลอยลงมา สื่อให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสูงแล้วมีเทวดาต่างๆ มารอต้อนรับ หรือในช่วงการปรินิพพานตอนท้ายๆ ที่กำลังจะจบ Projection Mapping เราจะเห็นเป็นดอกไม้ร่วงลงมา ซึ่งจะตรงกับพุทธประวัติที่บอกไว้ว่าตอนพระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้นมีดอกไม้ ใบไม้ร่วงลงมา เป็นสัญลักษณ์พุทธบูชาครั้งสุดท้าย”
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnFZlNSgr2JZWa8q5STxPJnYe9vA1.png
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnAh8YnyhAp1V2TgrHMkk3zpP6Ae9vA1.png
\u003e\u003cp\u003eถัดจากการชมแสงสีภายในตัววิหาร ทางด้านหลังก็มี interactive projection ที่ชวนให้ตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน เป็นการฉายแสงไปยังพระพุทธรูปที่อยู่ด้านหลังวิหาร โดยที่เบื้องหน้าจะมีปุ่มให้กดดอกไม้ ซึ่งมีทั้งดอกบัว ดอกกล้วยไม้ ดอกดาวเรือง ดอกพุด ดอกบานไม่รู้โรย ดอกจำปี ดอกแก้ว ดอกเบญจมาศ และดอกเข็ม จากนั้นดอกไม้ที่เรากดก็จะปรากฏแสงขึ้นไปด้านบน เสมือนได้ส่งดอกไม้สักการะพระ เป็นจุดที่นำเทคโนโลยีมาเชื่อมกับชีวิตประจำวันของคนได้อย่างดีงาม สวยและทำให้เรารู้สึกสนุกกับการมาครั้งนี้มากๆ\u003c/p\u003e\u003cp\u003eเดินชมบริเวณรอบๆ งานไปได้สักพัก ส่องคนทำพวงมโหตร และฟังคุณป้าในชุมชนนั่งร้องเพลงร่วมกับวงดนตรีไทยไม่นาน บริเวณลานที่ฉายหนังกลางแปลงก็พร้อมเปิดสารคดีย่านบางกอกน้อยให้เราชม\u003c/p\u003e\u003cp\u003eภายในวิดีโอสารคดี เล่าถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่แห่งนี้ ผ่านการตั้งคำถามถึงลักษณะของพื้นที่ อาหารการกิน การประกอบอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงภาวะสงคราม ไปจนถึงเรื่องลี้ลับ
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnJs65x9nBiIFcJYmNmGvJAAe9vA1.png
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnIgzXNxJ9B8lQtGyewEPX8Ue9vA1.png
\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eคุณลุง คุณป้าในคลิปวิดีโอเล่าว่าพื้นที่บริเวณบางกอกน้อยนั้นเป็นสวนผลไม้มาก่อน มีผลไม้ขึ้นชื่อคือทุเรียน และเงาะ ชีวิตของคนแถบนี้อยู่กับสายน้ำ ในอดีตสามารถว่ายน้ำข้ามแม่น้ำกันได้สบาย เพราะน้ำยังไม่เป็นคลื่นสูง และมีเรือใหญ่มากมายอย่างในทุกวันนี้ \u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eส่วนคนในชุมชนก็ประกอบไปด้วยหลายเชื้อชาติ มีชุมชนมุสลิม ประกอบอาชีพทำที่นอน คนไทยทำขนมไทย รับราชการทหารเรือ แขกฮินดู เลี้ยงวัว คนจีน เลี้ยงเป็ด ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ต่างพึ่งพาอาศัยกัน\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแน่นอนว่ามาเที่ยววัดก็ต้องมีเรื่องผี คุณป้าในสารคดีเล่าสิ่งที่ทำเอาคนที่นั่งดูภาพยนตร์อยู่ร้องฮือ ด้วยการบอกว่าที่ย่านนี้ ผีดุมาก แล้วเล่าถึงการละเล่นผีลอบที่เล่นกันแค่ในวันสงกรานต์ ชวนวิญญาณปู่ย่ามาร้องเล่น เพื่อความสมัครสมานสามัคคี (ที่วัดดุสิตตารามซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน มีการสาธิตการละเล่นนี้ให้ชมกันด้วย)
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnNmYDxMu5j64xibBS1xuulQe9vA1.png
https://media.thairath.co.th/image/KxYeGCUgp1V2zql0l2d4XxxnASsexcyqP915ScwbEpOrvMe9vA1.png
\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแม้ว่าจากที่สังเกตคนที่มางานนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเหล่าคุณป้าที่มีอายุ ซึ่งเราเดาว่าเป็นคนในพื้นที่เอง แต่ถึงอย่างนั้นก็มีวัยรุ่นอยู่มากเช่นกัน ใครที่กำลังหาอะไรทำสุดสัปดาห์ เราอยากแนะนำให้มาที่นี่มากๆ พอได้รู้ประวัติศาสตร์ในพื้นที่ที่ตัวเองอยู่อาศัยแล้วก็สนุกขึ้นมากเลย\u003c/p\u003e\u003cp\u003eนอกจากวัดร้างในย่านบางกอกน้อย ในวันที่ 17-25 ธันวาคม งาน Unfolding Bangkok: Hidden Temple ก็มีการพาไปเปิดประสบการณ์วัดลับย่านฝั่งธนฯ กันต่อที่ วัดพระยาศิริไอยสวรรค์ และวัดสวนสวรรค์ แถวบางยี่ขันด้วย ติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เพจ Urban Ally นะ
https://media.thairath.co.th/image/yDiN3gZpXWVf2YvrbwSsOYvZK8bnkklclzWdh9LED2Qe9vA1.jpg
https://media.thairath.co.th/image/PlvAbdg2qXq659RukSP5U7SIRqNTYkwGyaBlXcB7wWQe9vA1.jpg