ลมหนาวกำลังแรงระลอกนี้ ภาคอีสานหนาวเย็นลงและหนาวมาก แต่ภาคเหนือก็ยังไม่หนาวตามที่คาด แถมหนาวช้ามาก – Pantip

Source: ลมหนาวกำลังแรงระลอกนี้ ภาคอีสานหนาวเย็นลงและหนาวมาก แต่ภาคเหนือก็ยังไม่หนาวตามที่คาด แถมหนาวช้ามาก – Pantip

ดูจากภาพนั้น ภาคอีสานมีอากาศเย็นถึงหนาวเกือบทั่วไป ซึ่งถ้าไปดูอุณหภูมิที่วัดโดยกรมอุตุก็จะเห็นภาพมากขึ้นคืออยู่ในช่วง 15-17 องศา

แต่ภาคเหนือนั้น… ยังไม่มีอะไรเลย ยังอยู่ในช่วง 23-18 องศาเท่านั้น


เชียงรายนี่พอสูสีกับอีสานได้ บ้าง แต่ก็สู้ไม่ได้ในช่วงนี้


เชียงใหม่นี่…. เป็นแบบนี้ทุกปี พื้นที่ที่อุ่นที่สุดของภาคเหนือตอนบน ผมที่อยู่อ.เมืองเชียงใหม่เริ่มปลงละ ที่ไม่หนาวกับเขาเลย แถมจะหนาวก็ตั้ง 19 ธ.ค. ตายละ


พะเยาก็คล้ายเชียงราย เพราะติดกัน


ภาคเหนือตอนล่าง ก็อุ่นมากตามปกติของภาคเหนือตอนล่าง จุดอับลมหนาวของไทยตอนบน

ภาคอีสานนี่ไม่ต้องบรรยายอะไรมาก หนาวจัด หนาวจริง เผลอ ๆ คงมีเลขตัวเดียวด้วย

19 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ว๊าวว จังหวัดบ้านผมสีน้ำเงินเข้ม 555
คงจะหนาวแรงน่าดู
( ตอนนี้อยู่กรุงเทพฯ )

คงจะยังไม่เข้าภาคเหนือเต็มที่เท่าไหร่
เพราะมีภูเขาสูงชะลอเอาไว้

ถ้าแทรกซึมเข้าภาคเหนือเต็มที่เมื่อไหร่
คนเหนือ ได้หนาวสมใจแน่

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 1-1

ตั้งวันที่ 19 อีกไม่กี่วันก็จะหมดเดือนธันวาคมแล้ว ผมว่าน่าจะเป็นเดือนที่ธันวาที่ร้อนมากติดอันดับปีนึงเลยครับ
ความคิดเห็นที่ 1-2

ปีนี้มาค่อนข้างช้าครับ

เราเดาอะไรแน่นอนในปีนึง แต่ละปีไม่ได้หรอก

ความคิดเห็นที่ 2

ดูจากรูปเหมือนลมยังเข้าภาคกลางได้ไม่เต็มที่
เลยยังไม่วกขึ้นเหนือ

แต่เช้านี้ก็เย็นลงกว่าเมื่อวานชัดนะ

ปล. ภาพแบบนี้หาได้ที่ไหนครับ อยากดูจัง

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 2-1

https://tiwrm.hii.or.th/DATA/REPORT/php/radar/show_tempImg.php#
ความคิดเห็นที่ 2-2

ตัวเลขบนบาร์ซ้ายสุดน้ำเงินเข้มคือเท่าไหร่ครับ

ทางผู้จัดทำคงไม่ได้ตรวจสอบว่ามันอ่านไม่ได้
ได้แต่เดาว่าเป็น 16 องศา

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 3

อยู่ กทม วันนี้ตื่นมาก็รู้สึกชัดว่ามีอากาศเย็น จริง ๆ ก็เริ่มรู้สึกนิด ๆ มาตั้งแต่ 1-2 วันละ แต่เสียดายผมอยากเห็น กทม. ต่ำกว่า 20 องศาบ้าง แต่ดูท่าน่าจะไม่ได้เห็น
ความคิดเห็นที่ 3-1

คงต้องรอระลอกสองครับ
น่าจะวันที่ 18 เป็นต้นไป

กำลังแรงกว่าระลอกแรกพอสมควร

ความคิดเห็นที่ 3-2

ปีนี้ ดีตรงที่ระลอกแรกผ่านไปไม่นาน
มีระลอก 2 มาเสริม วันที่ 18 ธ.ค
แถมทำให้ กทม. ลดหนักกว่าระลอกแรก

เอาจริงกรุงเทพ ยังไม่เจอระลอกแรกแบบแรง ๆ เต็ม ๆ
ถ้าคุณสังเกตจากแผนที่ดี ๆ มันยังไหลเข้าภาคกลางไม่เต็มที่
ภาคกลางเลยอุณหภูมิยังไม่ลดมาก

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 4

รอบนี้กรุงเทพน่าจะลงไปได้ถึงแค่ไหนเหรอครับ   และประมาณกี่วัน
ความคิดเห็นที่ 4-1

ระลอกนี้ลงต่ำสุด  19 องศาครับ
ความคิดเห็นที่ 5

อากาศหนาวคงเป็นใจให้ท่องเที่ยววันหยุดบ้าง

ปล.แต่เราอยู่โซนร้อนยังไงอากาศร้อนต้องดีกว่าหนาวแน่นอน มองที่เที่ยวชายทะเลดูสาวๆเล่นน้ำไว้ก่อนเลยสุขดีเเท้

แก้ไขข้อความเมื่อ 

ความคิดเห็นที่ 6

ร้อนค่ะ 20-21 องศา
ความคิดเห็นที่ 6-1

20-21 นี่ร้อนหรอครับ
ความคิดเห็นที่ 6-2

มันยังหนาวไม่พอจะใส่เสื้อกันหนาวและยังต้องเปิดพัดลมเบาๆเพื่อให้นอนสบายค่ะ
ถือว่าร้อนอยู่
ความคิดเห็นที่ 7

เดี๋ยว 18-19 นี้ พะเยา เชียงรายมีโอกาสเหลือ 8-9 องศา เชียงใหม่ 11-12 องศา
ความคิดเห็นที่ 8

ปีที่แล้วเชียงใหม่หนาวสม่ำเสมอ ปีนี้เลยมาช้า เป็นวัฏจักรหมุนเวียนกันไปค่าา
ความคิดเห็นที่ 8-1

ผมก็นึกว่าวัฏจักรแบบปี 2556-2557 นะนิ
ความคิดเห็นที่ 9

แต่พิษณุโลกวันนี้ก็เริ่มเย็นๆ ขับมอไซค์ไปมา มีแอบสั่นเบาๆอยู่นะ ปกติเมืองนี้มีแต่ร้อนชื้น ร้อนอบอวลเดี๋ยวอากาศหนาวน่าจะถึงเชียงใหม่คืนนี้

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 9-1

ผมอยู่กรุงเทพ อิจฉาอยากมีมอเตอร์ไซค์มากๆ ครับพี่กูเนส
ถ้าช่วงหนาวมาเมื่อไหร่
จะขี่รถมอเตอร์ไซค์โต้อากาศหนาว แบบอยู่ต่างจังหวัดไปเลย
คิดถึงบรรยากาศแบบนั้น

ไปนครนายก บรรยากาศน่าจะดีมาก
เสียด้ายย

เพี้ยนไฟลุก

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 9-2

ผมขี่มอไซโต้อากาศหนาวแล้วจะปวดหัว และป่วยไปเลย
ความคิดเห็นที่ 9-3

ตอนอยู่ต่างจังหวัด
ถ้าเจอวันหนาว คว้ามอไซค์ออกไปขับเลย
ทำบ่อยด้วย 555

อย่างล่าสุด ธันวา 2563 – มกราคม 2564
ทำแบบนี้ตลอด

มกราคม 2564 นี่ช่วงเวลาทองเลย
หนาวมาบ่อยโคตรๆ
ชอบขับมอเตอร์ไซค์กินลมชมวิวช่วงกลางคืน
ขับสนุก ฟินกว่าปกติเยอะ

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 9-4

ผมว่า พิดโลก หน้าหนาว ได้อยู่น่ะ
ความคิดเห็นที่ 10

เพราะว่าลมตะวันตกที่ดั๊นมาเจอกับลมหนาวจากจีนพอดีน่ะครับ ทางเหนือรอบวัน 2 วันนี้เลยหนาวช้ากว่าชาวบ้านผิดปกติไปหน่อย (ปีนี้อินเดียดูท่าจะร้อนกว่าปกติจริง ลมนี้พามาจากอินเดีย อุณหภูมิเลยไม่ค่อยจะเย็นสักเท่าไหร่


จากภาพบนจะเห็นเลยนะครับว่าลมหนาวน่ะมันมาถึงแล้ว แต่ลมตะวันตกที่ค่อนข้างร้อน มาเจอพอดี ซึ่งทำให้มันยกตัวขึ้นเกิดเป็นแนวเมฆที่ความสูงประมาณ 2000 – 3000 m แล้วด้วยความที่มันเป็นภาคเหนือ ที่มีภูมิประเทศสลับซับซ้อน อากาศมันเลยมีการ turbulent ตีกันมั่ง ขึ้นลงหน้าเขาบ้าง อุณหภูมิเลยผสมไปมาทำให้ไม่หนาวเท่าไหร่ คงต้องรอให้ลมตะวันตกไป ประมาณวันพฤหัส ถึงจะเริ่มหนาวกันจริงๆน่ะครับ

ความคิดเห็นที่ 10-1

ตายละ ภาคเหนือของไทยจะหนาวด้วยลมหนาวจากจีนอีกกี่วัน (ขอใช้คำว่าวันเลย เพราะเดือนธันวาคมหายไปครึ่งเดือนแล้ว)
ความคิดเห็นที่ 10-2

พอจะอธิบายลมตะวันตกกับคลื่นกระแสลมตะวันตกได้ไหมครับคุณ สมาชิกหมายเลข 1716385 ว่ามันคืออันเดียวกันไหมหรือมันต่างกันอย่างไร ผมยังสับสนอยู่ ผมเข้าใจแค่ว่า (อาจจะเข้าใจผิด) ถ้าคลื่นกระแสลมตะวันตกที่พัดมาถึงภาคเหนือตอนบนมันเป็นพัดลง ภาคเหนือจะหนาวเพราะพัดเอาลมเย็นด้านบนลงมาแต่ถ้าพัดขึ้นจะเกิดเมฆและฝน
ความคิดเห็นที่ 10-3

เรื่องลมตะวันตก คุณ tclound เข้าใจถูกในแง่เหตุการณ์ปกติแล้วครับ แต่เพราะอากาศจริงๆตัวแปรมันเยอะกว่านั้น เลยไม่ค่อยมี ประโยคที่แบบว่า ถ้า มี A จะต้อง B เสมอไปน่ะครับ

ฝนหรือเมฆถ้าเอาตามความเป็นธรรมชาติของมันจริงๆเลยก็คือ การเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว ซึ่งก็เกิดจากการคายความร้อนให้แก่สภาพแวดล้อมภายนอก เพราะงั้นถ้าเมฆเกิดการคายความร้อนแล้วกลั่นเป็นหยดน้ำ ก็ย่อมทำให้อุณหภูมิโดยรอบอุ่นขึ้นเป็นธรรมดาครับ

โดยธรรมชาติ ก้อนอากาศก้อนนึง (ซึ่งในนั้นก็จะมีน้ำ หรือความชื้นจำนวนนึงบรรจุอยู่ และตัวก้อนอากาศที่อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆนั้นก็จะมีความสามารถในการบรรจุน้ำต่างกันไป)

ก้อนอากาศลอยตัวขึ้นตอนแรกนั้นจะเป็นการยกตัวแบบกระบวนการ “กักความร้อนแบบแห้ง” (Dry adiabatic) คือปริมาณความร้อน (H) คงเดิม (ส่วนที่เรียกว่าแบบแห้งก็เพราะไม่มีการกลั่นเป็นหยดน้ำ) ลอยขึ้นฟ้าไปเรื่อยๆ พร้อมๆกับที่ขยายขนาด และอุณหภูมิค่อยๆลดลง จนเมื่อถึงค่านึง อุณหภูมิของก้อนอากาศลงไปถึงค่าที่ไม่สามารถรองรับน้ำที่บรรจุไว้นั้นได้อีกต่อไป (ภาพบนก็คือที่เส้นประตัดกันกับเส้นเข้ม) หลังจากนั้น มันจึงต้องทั้งกลั่นไอน้ำให้เป็นหยดน้ำ พร้อมๆไปกับลดอุณหภูมิเพื่อที่จะลอยขึ้นต่อไป (Moist adiabatic) นี่จึงเป็นสาเหตุที่ช่วงแรกความชันกราฟมัน ไม่ค่อยชันเท่าไหร่ เพราะมันไม่ต้องกลั่นหยดน้ำไปด้วย(แบบแห้ง) อุณหภูมิลดไว แต่พอเป็นเมฆปุ๊บอุณหภูมิลดช้าละ เพราะต้องเปลืองพลังงานไปกับการคายความร้อนแฝงนั้น

อากาศเจอภูเขาอย่างงี้ หลายๆกรณีกระแสจะปั่นป่วนและเดาทิศทางกันได้ยากมากครับ

กลับมาเรื่องลมตะวันตกทำไมคราวนี้ไม่ทำให้หนาวทั้งๆที่ปกติมันเป็นตัวทำให้เหนือหนาวไม่ใช่หรอ ?

ก็ดังที่กล่าวไปข้างต้นครับ ถ้าลมมันพาก้อนอากาศ “ยกขึ้น” อากาศก้อนดังกล่าวก็จะเย็นลงพร้อมๆกับความสามารถในการจุไอน้ำที่ลดลง แล้วก้อนอากาศมันก็จะลอยสูงขึ้น พร้อมๆกับเย็นลงไปเรื่อยๆแล้วกลั่นตัวเป็นเมฆ เพราะงั้นทิศทางของลมจึงมีความสำคัญมากๆที่จะดูว่ามันจะสามารถพอก้อนอากาศขึ้นไปจนทำให้เกิดเมฆ หรือฝนขึ้นได้หรือไม่

ประเด็นคือ ถ้าเกิดหลังจากนั้นมีลมแปรปรวน หรือ มีลมพัดผ่านหน้าเขาท่าไหนไม่รู้ พาก้อนอากาศนั้นกลับลงมา ขากลับนี้มันจะกลายเป็นกระบวนการ Dry adiabatic (กระบวนการกักความร้อนประเภทแห้ง คือไม่ต้องไปเค้นเอาความชื้นออกเหมือนขาขึ้นแล้ว ขาลงเลยเป็นการเพิ่มอุณหภูมิแบบ”กัก”ความร้อนไว้ในก้อนอากาศนั้น ลงมาแบบ “แห้งๆ”เลย) ถ้าเป็นอย่างนี้อุณหภูมิก้อนอากาศก้อนนั้นตอนมาถึงพื้นจะร้อนกว่าตอนขาขึ้นอีกครับ ลองดูภาพด้านล่างประกอบ

สถานการณ์อย่างง่าย เริ่มที่ (1) กระบวนการกักความร้อนแบบแห้ง ขึ้นไปถึง บริเวณ ฐานเมฆ แล้วเค้นเอาไอน้ำออก กลายเป็น (2) คือกักความร้อนแบบชื้น (moist adiabatic) แล้วถ้าเกิดมีลมพาก้อนอากาศนั้นกลับมา เนื่องจากมันเอาความชื้นจากไอน้ำออกไปแล้ว ขากลับเลยกลับแบบแห้งๆ (3)
จะเห็นได้ว่าในตอนแรกก้อนอากาศอุณหภูมิ 20 องศา ขากลับลงมา ขึ้นถึง 25 องศา หรือก็คือ เพียงแค่การไหลขึ้นลงของอากาศรอบนึงก็ทำให้อุณหภูมิมันสูงขึ้นได้แล้ว
ก้อนอากาศก่อนหน้าลงมาผสมกับก้อนอากาศที่มาใหม่ อุณหภูมิ อากาศผิวพื้นจึงสูงขึ้น เริ่มเป็นวงจร ที่จาก (4) ไป (5) และ ไป (6) ใหม่อกีครั้ง หรือก็คืออุณหภูมิผิวดินค่อยๆสูงขึ้น

เมื่อวัน 2 ที่ผ่านมาทางภาคเหนือมีลมตะวันตก (NW) ไหลมาความเร็วไม่มากประมาณไม่เกิน 20 km/hr ที่ความสูงประมาณ 2000-3000 m (800-700 hPa) ในขณะที่ลมหนาวจากจีนมาแบบเอื่อยๆ วกมาจากทางอีสาน และลาวบางส่วน (SSE) เพราะระลอกนี้กำลังแรงไม่มาก ประกอบกับภูมิประเทศที่เป็นภูเขาซับซ้อน ความเร็วจึงประมาณ ไม่เกิน 10 km/hr ที่ความสูงตั้งแต่ 1500 m ลงมา
ผมลองเขียนจำลองเหตุการณ์อย่างง่ายให้ดูตามรูปด้านล่างครับ

(1) คือ มีลมหนาวจากจีน ซึ่งเป็นลมที่ความสูงตั้งแต่ผิวดินถึงความสูงประมาณ 1500 m (2) ลมหนาวอ่อนๆนี้ไปปะทะเข้ากับภูเขา หรือไม่ก็ลมตะวันตก เกิดเป็นการยกตัวของอากาศขึ้น (ลมจากจีนยกตัวขึ้นหน้าเขา หรือไม่ก็ลมตะวันตกยกตัวขึ้นเหนือลมจากจีน) มีเมฆก่อตัว ที่ความสูงประมาณ 2000 m (3) ลมตะวันตกที่พัดมาจากด้านบน เจอกับภูเขาทำให้มีการสั่นขึ้นลง และไป Mix เข้ากับอากาศก้อนที่คายความชื้นไปแล้วที่บริเวณหน้าเขา พามันลงมาที่แอ่งกะทะในเมืองใหม่ เหตุการณ์นี้เกิดอย่างต่อเนื่องกัน และตลอดช่วง 2 วันที่ผ่านมา โดยไม่จำเป็นต้องเรียง (1) (2) (3) แต่อาจเป็น (3) (1) (2) อย่างนี้ก็ได้ ผลก็คือหนาวลงเนื่องจากลมหนาวจากจีนอุณหภูมิต่ำ แต่ไม่หนาวลงมากเท่าไหร่เพราะไปเจอวงจรที่เขียนด้านบนนั่นเองครับ
อนึ่งภาพบน เป็นภาพอย่างง่าย ของจริงลมปั่นป่วน และทิศทางไม่แน่นอนกว่านี้มาก

สรุปง่ายๆ ลมตะวันตกที่ร้อนกว่าปกติมาผิดจังหวะ เข้ามาพร้อมกับลมหนาวกำลังอ่อน(ความเร็วลมต่ำ)พอดี ทำให้ไม่หนาวเท่าที่ควรนั่นเองครับ

ปกติถ้าไม่มีลมหนาวจากจีน และลมตะวันตกจากอินเดียเย็นๆมาโดดๆ ทางเหนือจะหนาวลงครับ เพราะแทนที่จะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิแบบกักความร้อนแบบแห้ง (dry adiabatic) จากที่ความสูง 2500 – 3000 m ลงมาหาพื้นราบ เนื่องจากฟ้าโปร่งไม่มีเมฆที่เกิดจากมวลอากาศ 2 มวลชนกัน ความร้อนจากพื้นราบจึงสามารถแผ่รังสีออกไปได้ ทำให้อากาศเย็นจากลมบนไหลลงมาตามภูเขา หาพื้นราบได้ครับ

ส่วนถ้ามันพัดมาจากทางทะเลอันดามันแล้วล่ะก็ ด้วยความที่ความชื้นในอากาศมาก  เพราะงั้นอุณหภูมิน้ำค้างจะสูงขึ้น ขอแค่อากาศยกตัวนิดเดียวก็พร้อมเกิดเป็นเมฆ พอเมฆมันควบแน่นได้มากเข้าก็จึงกลายเป็นฝนนั่นเองครับ


แทนที่อากาศจะต้องยกตัวสูงมากเพื่อเกิดเมฆ แต่ด้วยความชื้นที่มากฐานเมฆจึงเลื่อนลงต่ำสะสมกันเป็นเมฆฝนได้
ยิ่งภาคเหนือมีหน้าภูเขาให้ลมปะทะอยู่แล้ว ขอเพียงอากาศยกตัวนิดหน่อยก็ได้เป็นฝนแล้วล่ะครับ

ปล. 2 ผมไม่แน่ใจว่านิยามกรมอุตุ คลื่นกระแสลมตะวันตก กับลมตะวันตกแตกต่างกันอย่างไร แต่ส่วนตัวก็เรียกสลับไปมานี่แหละครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 10-4

แล้วผมสงสัยมาก ว่าทำไมกรมอุตุไทย ทำไมเขาไม่พยากรณ์ไปบอกว่า ยกเว้นภาคเหนือที่จะมีเมฆปกคลุม อุณหภูมิจะลดลงเพียงเล็กน้อยในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา ทำไมเขาไม่บอกแบบนี้ล่ะครับ

มาบอกว่า “ในช่วง 13-17 ธ.ค. ภาคเหนืออุณหภูมิลดลง 3-5 องศา” ซึ่งมันไม่จริงเลย มันมีเมฆครึ้มตลอดวัน และอุณหภูมิลดลงแค่ 1 หรือ 2 เอง

หรืออุตุไทยคิดว่ามันไม่จำเป็น?? แต่มันควรบอก ไม่ใช่ปล่อยให้รอลมหนาวเก้อ แล้วเก้ออยู่ภาคเดียวด้วยนะ กรุงเทพอากาศเย็นกว่าเชียงใหม่ ถถถ

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 10-5

ขอบคุณ  คุณสมาชิก 1716385 ในคห. 10-3 มากครับ
เป็นอะไรที่ผมสงสัยและอยากรู้มานาน แต่ก็หาคำตอบได้ไม่เคลียร์มาตลอด
คำตอบและการอธิบายของคุณทำให้ผมเข้าใจเรื่องลมฟ้าอากาศและการพยากรณ์ได้มากขึ้นครับ
ไม่ใช่แค่ คห. นี้ แต่ทุกการฮธิบายของคุณในกระทู้อื่นๆด้วย มีประโยชน์และความรู้มากๆครับ
ความคิดเห็นที่ 10-6

ตอบคุณ จขกท. เอ ถามยังงี้ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ (ฮา) คงต้องไปถามกรมอุตุฯล่ะครับแบบนี้ ถ้าให้อนุมาน อาจเพราะดูโมเดลอย่างเดียวมากไปหรือเปล่าครับ? เลยไม่ได้พิจารณาเหตุผลเชิงกายภาพกันจริงๆ และลืมจุดบอดของโมเดลแต่ละตัวไป เป็นเพียงข้อสันนิษฐานครับ

ตอบคุณ tclound ผมเองก็ต้องขอบคุณด้วยเช่นกันครับ ที่มีคนตั้งคำถามน่าสนใจแบบนี้ เพราะจะให้นึกคำถามดีๆยังงี้ บางทีผมเองก็นึกไม่ออกเช่นกัน ถ้าอันไหนคิดว่าพอหาคำตอบได้ก็อยากลองคิด และพยายามหาคำตอบให้ได้เหมือนกันครับ สนุกดี
ปล. ที่ตอบใน 10-3 มีแก้บางส่วนนะครับ นั่งคิดนอนคิดไปๆมาๆ รู้สึกที่เขียนไปตอนแรกมันมีที่ตะหงิดๆอยู่ แก้คราวนี้เหตุผลน่าจะพอลงตัวทุกอย่างแล้ว ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆอีกทีละกันครับ
ถ้ามีมวลอากาศ 2 ก้อนมาชนกัน ต้องมีสักก้อนมุดลง และอีกก้อนยกขึ้น (ก้อนที่ร้อนกว่าย่อมหนาแน่นน้อยกว่าเลยยก ส่วนก้อนที่เย็นกว่าจะมุดลง) ซึ่งจะทำให้เกิดเมฆ หรือไม่ก็ฝนได้ครับ (ขึ้นกับความชื้นของก้อนร้อน และความสูงที่มันยกตัวขึ้นไป) พอเกิดเมฆจะทำให้พื้นดินไม่สามารถคายความร้อนแบบแผ่รังสีขึ้นไปบนฟ้าได้ เพราะเมฆบังอยู่ (ในทางกลับกันตอนกลางวันก็ไม่ร้อนมากเพราะเมฆบังไว้เช่นกัน) ส่วนถ้ามีภูเขาอย่างบริเวณภาคเหนือ การไหลของอากาศเย็นจากยอดเขาจะไม่เกิดขึ้น เกิดเป็นวงจรที่ทำให้อากาศอุ่นขึ้นได้ ดังที่เขียนใน 10-3 ครับ
ต้องขออภัยด้วยนะครับที่ตอนแรกเขียนผิดไปบางจุด ผมเบลอๆไปเอง

แก้ไขข้อความเมื่อ 

ความคิดเห็นที่ 11

หืออ อีสานคือหนาวโหดมาก ภาคกลางเย็นกว่าภาคเหนืออีกครับ ล่าสุด

ความคิดเห็นที่ 12

เม่าเศร้าเชียงใหม่ยังไม่หนาวเลยค้าา รออยู่
ความคิดเห็นที่ 13

บ้านเราภาคใต้ไม่ต้องพูดถึงเลย
พอฝั่งบนๆของไทยหนาว ฝั่งใต้ก็เข้าฤดูมรสุม
ยิ่งตอนบนหนาวเท่าไหร่ บ้านผมก็ยิ่งมรสุมแรงเท่านั้น 😅

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 13-1

ใช่ครับ พอภาคอีสาน กลาง เหนือ
เจออากาศเย็น หรือ หนาว เมื่อไหร่

ภาคใต้เตรียมตัวฝนกระหน่ำได้เลย

ความคิดเห็นที่ 13-2

ถ้ายิ่งเหนือ อีสานหนาวแรง ภาคใต้ฝนยิ่งน้อยค่ะ บางครั้งหนาวถึงประจวบด้วยซ้ำ

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 13-3

ตอนบ้านที่สกลนครหนาวจัด ไปบ้านแฟนวิ่งรถแถวๆ หัวไทร คลื่นสาดขึ้นมาเลยแนวกำแพงออกมาถึงกลางถนนเส้น ปากพนัง-หัวไทร เลยบ้านแถวนั้นพังเละเทะ ปัจจุบันบ้านแถวนั้นทำแนวกันพังไว้เกือบตลอดแนวถ้าไม่ทำนี้บ้านหาย ทางหลวงหายหมด
ความคิดเห็นที่ 13-4

ความคิดเห็นที่ 13-3 มีแฟนเป็นสาวใต้เหรอครับ

ความคิดเห็นที่ 13-2 หนาวถึงประจวบ แต่ชุมพร สุราษ นครฯ ไม่หนาว แถมเจอฝนหนักอีกครับ

ความคิดเห็นที่ 13-5

13-4 ใช่ครับ
ความคิดเห็นที่ 13-6

13-4 ถ้าหนาวแรงๆ เส้น 1020 พาดผ่านภาคกลาง จะเป็นฝนละอองแบบเมืองที่อยู่ตั้งแต่ต่ำกว่าดานังลงมา กวีเญิน กว่างไหง๋ ญาจาง ของเวียดนามจร้า เพราะเส้นความกดอากาศ 1012-1014 ลงไปถึงชุมพรคือเส้นอากาศแห้ง อากาศจะไม่ยกตัว ฝนจะลดลงเรื่อย อุณหภูมิแถบสุราษ ชุมพร ลงถึง 20-21 ได้เลย แต่คลื่นจะแรงมากก

ถ้าลมหนาวกำลังปานกลาง เหมือนช่วงก่อน ภาคใต้ฝนจะหนักมาก สังเกต แถบระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตอนนี้ฟ้าใสแบบภาคเหนือ แต่เมฆจะเยอะกว่า ไม่ถึงกับไร้เมฆแบบภาคเหนือ ฝนจะเลื่อนไปตกหนักแถบมาเลเซีย ภาคใต้ตอนล่างแถบ ยะลา ปัตตานี นราธิวาสแทน

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 14

ภาคเหนือส่วนมากจะหนาวจัดช่วงม.ค.-ก.พ เพราะได้รับกระแสลมตะวันตก
ความคิดเห็นที่ 15

ภาคเหนือหนาวช้ากว่ากรุงเทพอีก
ความคิดเห็นที่ 15-1

จริง งอนแล้วเนี่ย
ความคิดเห็นที่ 16

เมื่อเช้า เย็นกำลังสบายเลยครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 17

ขอนอกเรื่องรบกวนถาม จขกท. หน่อย

พอดีเห็นว่าเป็นคนจังหวัดสุโขทัย

ความคิดเห็นที่ 17-1

ครับบบ
ความคิดเห็นที่ 17-2

คุยกันในนี้แหละครับ

จะมาถามเรื่องสุโขทัย
ส่วนตัวยังไม่เคยไปจังหวัดนี้

เลยไม่รู้สภาพวัฒนธรรม สำเนียงของแถวนี้มาก

เอาอย่างแรกเลยคือ ผู้คน วัฒนธรรม
ออกไปทางไหน ทางเหนือ หรือ ทางภาคกลาง
หรือ ทั้งเหนือผสมปนเปกับภาคกลาง

ส่วนสำเนียงสุโขทัย ฟังแล้วน่ารักดี
เคยเจอคนสุโขทัย รู้สึกว่าเขาจะพูดเหน่อ
เหน่อแบบโทนเสียงไม่เหมือนแถวอื่นนะ

ไม่เหมือนโคราช ไม่เหมือนสุพรรณ

เลยสงสัยว่า คนสุโขทัยทั่วไปนี่
พูดสุโขทัยกันทั่วจังหวัดหรืเปล่า
หรือ แค่บางพื้นที่

แล้วแต่ละพื้นที่นี่ แตกต่างกันมากน้อยป่าวครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 17-3

ดีใจที่มีคนสนใจจังหวัดนี้นะครับ ผมก็มาเรียนเชียงใหม่ มีคนถามแบบคุณเยอะมากเลยทีเดียวครับ ว่าสุโขทัยมีวัฒนธรรมแบบไหน

“เอาอย่างแรกเลยคือ ผู้คน วัฒนธรรม
ออกไปทางไหน ทางเหนือ หรือ ทางภาคกลาง
หรือ ทั้งเหนือผสมปนเปกับภาคกลาง

ตอบ สุโขทัยแบ่งเป็นเหนือกับล่าง ถ้าเป็นตอนล่าง คือ อ.เมืองสุโขทัย บ้านด่านลานหอย คีรีมาศ กงไกรลาศ ศรีสำโรง ศรีนคร สวรรคโลก รวมถึงศรีสัชนาลัย (เฉพาะตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัย) จะมีวัฒนธรรมเป็นแบบ “ภาคกลาง” เลยครับ วิถีชีวิตชาวบ้านก็คือคนภาคกลางดี ๆ นี่เอง สำหรับภาษานั้นจะพูดภาษาไทยสำเนียงสุโขทัย (และภาษากลาง)

ทีนี้ตอนบนก็จะมี อ.ทุ่งเสลี่ยม และศรีสัชนาลัย (ตำบลที่เหลือทั้งหมด) จะมีวัฒนธรรมเป็นภาคเหนือครับ เพราะทุ่งเสลี่ยมจะติดกับลำปาง และศรีสัชนาลัยจะติดกับแพร่ ทำให้มีวัฒนธรรมแบบภาคเหนือ และพูดภาษาเหนือ (กำเมือง)
เพิ่มเติมครับ คนบางพื้นที่ของอ.ศรีสัชนาลัยจะมีวิถีชีวิตแบบลาวพวน และพูดภาษาลาวพวนด้วยครับ

ส่วนสำเนียงสุโขทัย ฟังแล้วน่ารักดี
เคยเจอคนสุโขทัย รู้สึกว่าเขาจะพูดเหน่อ
เหน่อแบบโทนเสียงไม่เหมือนแถวอื่นนะ

ไม่เหมือนโคราช ไม่เหมือนสุพรรณ

ตอบ คนทุกภาคที่เจอผมพูดสำเนียงสุโขทัย ก็จะตะลึงหรืองงไม่มากกก็น้อยครับ เพราะสำเนียงสุโขทัยนั้น ไม่ได้ถูกพูดถึงเลยในสื่อหลัก (คนทั้งประเทศเคยได้ยินน้อยมาก ๆ หรือไม่เคยได้ยินเลย)

สำเนียงสุโขทัยจะแบบเป็น 2 แบบ คือแบบเก่าและแบบใหม่ ถ้าเป็นแบบเก่าคือคนแก่จะพูดกันครับ กล่าวคือจะมีคำศัพท์เฉพาะเยอะมาก (ซึ่งคำศัพท์เท่าที่เคยฟังนั้นจะเป็นคำภาษาเหนือ+ลาว อาจจะเพราะว่าอยู่กลาง ๆ เลยรับมาทั้ง 2 ที่) ส่วนแบบใหม่นั้นก็คือคนรุ่นใหม่ เด็ก วัยรุ่นก็จะพูดสำเนียงสุโขทัยแบบใหม่กัน (รวมถึงผมด้วย) คือจะมีแค่สำเนียงเฉย ๆ ส่วนคำศัพท์นั้นไม่ค่อยเน้นครับ (ไม่ได้ใช้คำเมืองเหนือหรือลาว)

เทียบเหน่อสุโขทัยกับสุพรรณ ไม่เหมือนกันตรงที่ สำเนียงสุโขทัยจะพูดเร็วและห้วนกว่าสุพรรณมาก ๆ และมีคำลงท้ายเยอะกว่ามากด้วยครับ
และถ้าเทียบกับสำเนียงโคราช จะไม่เหมือนตรงเสียงวรรณยุกต์ครับ
เช่น คำที่สะกดด้วยแม่ กด เช่นคำว่า พิษ คนสุโขทัยจะออกเสียงเป็นคำว่า “พิด (เสียงวรรณยุกต์นี้ไม่มีในภาษากลาง ซึ่งเป็นวรรณยุกต์ที่ก้ำกึ่งระหว่างเสียงโทกับตรี แต่ก็ไม่ใช่ทั้งคู่ ถ้าคุณเคยฟังก็อาจจะพอเดาออก)” แต่คนโคราชจะพูดว่า “ผิด”

แต่เอกลักษณ์ของสำเนียงสุโขทัยคือ การสลับวรรณยุกต์เอกกับจัตวาครับ ซึ่งทำให้คนภาคอื่นพูดสำเนียงสุโขทัยได้ยาก หรือต้องใช้ความพยายามในการพูดมาก หากไม่ได้พูดมาแต่เด็ก คือ หากเสียงภาษากลางเป็นเสียง เอก จะเปลี่ยนเป็น จัตวา และหากเสียงภาษากลางเป็นเสียงจัตวา จะเปลี่ยนเป็นเสียง เอก รวมถึงเสียงโท ให้เปลี่ยนเป็นเสียง กึ่งโทกึ่งจัตวาด้วย (ภาษากลางไม่มี)

เช่น เสือ >> เสื่อ (แปลว่า สัตว์ชนิดหนึ่ง) เสียง >> เสี่ยง สอง >> ส่อง สี สี่
ก่อ >> ก๋อ สี่ >> สี หมู่ >> หมู ขัน >> ขั่น ไข >> ไข่

ไม่ว่าจะพูดภาษาอะไรก็ตาม หากเสียงวรรณยุกต์เข้าเกณฑ์ที่จะเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้เลย ซึ่งจะกลายเป็นสำเนียงสุโขทัยโดยอัตโนมัติครับ

แต่ … ก็ยกเว้นได้ สำเนียงสุโขทัยแถบกงไกรลาศ บ้านด่านลานหอย หากพูดคำว่า พ่อ แม่ พี่ ก็จะเป็น ผอ แม๋ ผี แบบนี้ แต่ถ้าเป็นสำเนียงคนทางเหนืออย่างสวรรคโลก ศรีสัชนาลัย (ต.ท่าชัยและศรีสัชนาลัย) จะพูดว่า พ่อ แม่ พี่ ตามภาษากลาง แต่จะพูดให้ห้วนขึ้นครับ
ท่าเป็นสำเนียงต.ท่าชัย (อ.ศรีสัชนาลัย) คำศัพท์ที่เป็น ช.ช้างทั้งหมด จะเปลี่ยนให้เป็น ซ.โซ่ เช่นคำว่า ช้าง ก็เป็น ซ้าง เชือก ก็เป็น เซือก
ฉะนั้น ก็เป็น สะนั้น

จริง ๆ รายละเอียดเยอะมากครับ คงต้องมานั่งฟังจริงจัง ไม่งั้นคงไล่ไม่หมด 5555555

แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 17-4

ขอบคุณมาก ๆ ที่สละเวลามาตอบครับ

ถึงจะไม่ได้ละเอียดมากนัก แค่นี้ก็ดีมากโขแล้ว
ทำให้นึกภาพออกเลย

ภาคกลางตอนบน เหนือตอนล่างอ่ะ
พวกสุโขทัย พิจิตร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก
น่าสนใจดีออกก

คิดว่าถ้าได้ไปโซนนั้น
จะไปสุโขทัยนี่แหละเป็นที่แรก
ยังไงก็เล็งไว้แล้ว ต้องไปให้ได้
หวังว่าจะมีโอกาสได้ไปในอนาคตครับ

อมยิ้ม36

ความคิดเห็นที่ 17-5

เพี้ยนขำหนักมากถ้าจะมาก็ยินดีต้อนรับนะครับ แต่อย่ามาช่วงหน้าร้อนนะครับ สุโขทัยติดอันดับ 41+ องศาทุกปี เพี้ยนขำหนักมาก
ความคิดเห็นที่ 18

ผิดกระทู้ เพราะภาคเหนือหนาวแล้ว ถึงจะไม่เท่าภาคอีสานก็ตาม ถถถถถถถ
ความคิดเห็นที่ 19

จะหนาวได้กี่วันมาลุ้นกันดีกว่า
ความคิดเห็นที่ 19-1

นานมาก ไม่ได้ให้กระแนะกระแหนแบบต้นเดือนแน่นอน 5555

Leave a Reply

The maximum upload file size: 500 MB. You can upload: image, audio, video, document, spreadsheet, interactive, other. Links to YouTube, Facebook, Twitter and other services inserted in the comment text will be automatically embedded. Drop file here