ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
หน่วยที่ 5 แนวการพัฒนาประเทศไทย
บทที่ 13 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
การแบ่งเขตภูมิประเทศ
ประเทศไทยแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 เขต ได้แก่
1. ภาคเหนือ  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา
2. ภาคกลาง    เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตที่ราบสูง
4. ภาคตะวันออก เขตที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบลูกฟูก
5. ภาคตะวันตก  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา
6. ภาคใต้   เขตเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล
1. ภาคเหนือ  เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขา มี 9 จังหวัด ได้แก่
เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
               ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่ราบระหว่างเทือกเขา ที่สำคัญของประเทศหลายจุด อาทิ พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศ ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทย อยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เทือกเขาที่สำคัญ
ได้แก่
เทือกเขาถนนธงชัยตะวันออก เป็นที่ตั้งของดอยอินทนนท์ หรือ ดอยอ่างกา มีความสูง 2,565 เมตร เทือกเขาถนนธงชัย เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย อาทิ แม่น้ำแจ่ม  แม่น้ำปาย แม่น้ำยวม แม่น้ำเมย แม่น้ำตื่น
เทือกเขาผีปันน้ำ เป็นสันปันน้ำที่แบ่งน้ำไหลแยกกันไปสองทาง ทางหนึ่งไปสู่อ่าวเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งไปสู่อ่าวแม่โขง เขาย่อย ๆ หลายทิวประกอบขึ้นเป็นทิวเขาผีปันน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ซึ่งเป็นแควของแม่น้ำเจ้าพระยา
เทือกเขาครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือ โดยมี ดอยหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดมีความสูง 1,694 เมตรยอดเขาที่สำคัญๆ ได้แก่ ดอยขุนออน ดอยผาโจ้ ดอยผีปันน้ำ ภูชี้ฟ้า และดอยขุนตาล เป็นภูเขาที่มีหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งตั้งขวางเส้นทางที่จะเดินทางจากลำปางขึ้นไปลำพูนและเชียงใหม่ ต้องเจาะอุโมงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 ให้รถไฟสายเหนือ ผ่านเส้นทางนี้ สร้างเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2461 เรียกอุโมงค์ขุนตาล มีความยาว 1,352.10 เมตร
เทือกเขาแดนลาว เป็นเทือกเขาที่ทอดแนวแนวเฉียงตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวชายแดนไทยกับพม่า ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดเชียงรายและตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่มีความยาวทั้งสิ้น 1,330 กิโลเมตร แต่ส่วนที่อยู่ในเขตประเทศไทยมีความยาวเพียง 120 กิโลเมตร มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยผ้าห่มปก ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,146 เมตร
แม่น้ำปิงหรือแม่ระมิงค์ มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลาง
กับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ไหลจากเชียงใหม่ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวประมาณ 658 กิโลเมตร
แม่น้ำวัง เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ บริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ไหลผ่านจังหวัดลำปาง แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำปิงบริเวณ บ้านปากวัง ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก  มีความยาวประมาณ 382 กิโลเมตร
แม่น้ำยม มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพะเยาและแพร่  มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ แล้วไหลลงสู่ภาคกลางตอนบนในเขตจังหวัด สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง  อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยไหลขึ้นไปทางเหนือ ผ่าน อำเภอเฉลิมพระเกียติ จังหวัดน่าน แล้ววกลงใต้ ผ่าน อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น ก่อนจะถูกกั้นด้วยเขื่อนสิริกิติ์ ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วก็ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงสู่ภาคกลางตอนบนผ่านจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และไหลรวมกับแม่น้ำปิง ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาวประมาณ 740 กิโลเมตร 

Leave a Reply

The maximum upload file size: 500 MB. You can upload: image, audio, video, document, spreadsheet, interactive, other. Links to YouTube, Facebook, Twitter and other services inserted in the comment text will be automatically embedded. Drop file here