Source: อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย ไม่ได้ไปต่อ ในยุครถยนต์ไฟฟ้า – Pantip
#Automobile อุตสาหกรรมรถไทยไปต่อไม่ไหวเมื่อเจอ EV: เทคโนโลยีไม่ถึง ค่ายญี่ปุ่นไม่เน้น นำเข้าจีนถูกกว่า
.
ยานยนต์ คืออุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตเรื่องราวนี้อาจจะเปลี่ยนไปจากการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
.
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน “เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนเป็น EV ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง ?” ประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
.
ทำให้ประเทศไทยอาจไม่ใช่ฐานผลิตหลักของรถยนต์ในอนาคต
.
[ ยานยนต์ พระเอกเศรษฐกิจไทยที่อาจไปต่อไม่ไหว ]
.
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของไทย โดยเติบโตจากการลงทุนทางตรงและการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเป็นหลัก
.
ส่วนหนึ่งจะเกิดขึ้นเพราะนโยบายเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การเปิดเสรีทางการค้า และนโยบายสร้างแรงจูงใจ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ
.
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตคือการย้ายฐานการผลิตมาไทยในช่วงนั้นเกิดขึ้นหลังการทำข้อตกลงพลาซาในปี 1985 ที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมากจึงทำให้ญี่ปุ่นเสียความสามารถในการแข่งขันและย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย
.
แต่ตอนนี้ประเทศไทยอาจไม่โชคดีที่มีคนช่วยเหมือนในอดีต KKP Research ประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
.
นโยบายลดภาษีอย่างเดียวจะไม่ได้ผลในการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่ต้องพัฒนานวัตกรรมของไทยเอง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยยังพึ่งพาแต่นวัตกรรมจากญี่ปุ่นเป็นหลัก ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ไทยไม่สามารถเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เหมือนที่เคยเป็นฐานการผลิตยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในอีกต่อไป
.
[ ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง ? ]
.
KKP Research ประเมินศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในยุค EV แจกแจง 5 เหตุผลว่าทำไมไทยถึงเสียเปรียบคู่แข่งในอนาคต
.
(1) รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง แต่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นยังปรับตัวช้า น้อยกว่ารถยนต์ค่ายยุโรปและอเมริกามากซึ่งจะส่งผลเสียเพราะไทยเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์ญี่ปุ่น
.
(2) จีนและอินโดนีเซียอาจส่งออกแซงไทย สัดส่วนการส่งออกรถยนต์ในตลาดโลกไทยมีสัดส่วนลดลงจาก 1.7% เหลือ 1.3% ในขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจาก 0.7% เป็น 1.5% โดยไทยโดนจีนแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศออสเตรเลีย และโดนอินโดนีเซียแย่งส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามและฟิลิปปินส์
.
(3) นำเข้าดีกว่าผลิตในไทย เพราะไทย FTA กับประเทศจีน ทำให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าไม่มีภาษี นอกจากนี้การนำเข้ารถยนต์ EV จากจีนมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการผลิตเองภายในประเทศ เพราะปริมาณการการผลิตรถยนต์ EV ที่จีนมีขนาดใหญ่กว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่า
.
(4) ไทยกำลังเผชิญปัญหา Economies of scale เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยส่วนใหญ่เป็นประเทศพวงมาลัยขวา (Right-Hand Driving) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 6 ของโลก
.
เมื่อเจอกับปัญหาตลาดในประเทศที่หดตัวลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่วนแบ่งในตลาดโลกที่ลดลง และการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้คนน้อยลงทำให้ปริมาณการผลิต(Scale) มีความสำคัญมากขึ้นมาก จะทำให้ไทยเสียเปรียบด้านต้นทุน หรือ การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ในขณะที่การเปลี่ยนมาผลิตพวงมาลัยซ้ายทำได้ยาก
.
(5) ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ตามค่าแรงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
.
นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอีก 2 ข้อที่ทาง KKP Research บอกว่าเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ต่างชาติไม่เข้ามาลงทุนสร้างฐานผลิตในประเทศไทย คือ
.
(1) ไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนจีน การผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันจีนครอบครองการผลิตจำนวนมาก โดยบริษัท CALT ในจีนครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ซึ่งสะท้อนข้อจำกัดในการเข้าตลาดสำหรับคู่แข่งรายใหม่
.
(2) อินโดนีเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเพราะเป็นแหล่ง Nickel ที่สำคัญของโลกมากถึง 30% ประกอบกับต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า และตลาดที่ใหญ่กว่า ทำให้เริ่มเห็นหลายบริษัท เช่น LG Energy Solution และ Hyundai Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับสองของโลกเริ่มเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย
.
ทั้งนี้ มูลค่าเพิ่มหลักกว่า 30% ของรถยนต์ไฟฟ้า คือ Li-Ion Battery ซึ่งไทยแทบไม่มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน และเสียเปรียบคู่แข่งในหลายมิติ
.
[ อุตสาหกรรมจะถูกฉุดรั้ง หากไม่ปรับทิศนโยบาย ]
.
เศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบต่อทั้งห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่แค่เฉพาะบริษัทประกอบรถยนต์ แต่รวมถึงบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ KKP Research ประเมินว่าชิ้นส่วนที่จะหายไปในการเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า คือ เครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และ ระบบเกียร์ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มกว่า 32.5% ของมูลค่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายในเดิม
.
KKP Research ประเมินว่าการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV จะทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกกระทบรุนแรงต้องหยุดการผลิตลงและหากสมมติให้ประเทศไทยยังสามารถทำหน้าที่ผลิตและส่งออกรถยนต์ได้จำนวนเท่าเดิมแต่เปลี่ยนไปผลิต EV แทน มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จะลดลงจากในปัจจุบันที่ 53% เหลือเพียง 34% เท่านั้น โดยมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่จะเกิดจากการผลิตแบตเตอรี่เป็นส่วนสำคัญแทน
.
จากงานศึกษาฉบับนี้ KKP Research ประเมินว่ามี 3 บทเรียนที่ภาครัฐควรนำไปปรับใช้ในการทำนโยบาย คือ
.
(1) การพึ่งพาการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะการผลิตในอนาคตไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานทำให้การมาตั้งโรงงานจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ต่างชาติเป็นหลัก
.
(2) ห่วงโซ่การผลิตที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้ไทยต้องกลับมาพิจารณากลยุทธ์การเติบโตระยะยาวว่ายังควรเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่
.
(3) การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นหนึ่งในทางออกที่จำเป็นมากที่สุด เพราะมูลค่าเพิ่มของรถยนต์ EV ในอนาคตจะเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิเลกทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้ยังต้องอาศัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการลงทุน และการวิจัยและพัฒนา กำกับให้เกิดการแข่งขันเสรี และการลดการคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งทาง KKP Research มองว่าเรื่องเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
.
#EV #รถยนต์ไฟฟ้า #KKKPResearch #binews
https://brandinside.asia/thai-automobile-outlook-by-kkp-research
เพจ : Brand inside BI
2 6
กระท่อมน้อยริมบึง
26 เมษายน 2565 เวลา 22:46 น.
gamaga ถูกใจ, Amalgamate ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 4776797 ถูกใจ, กรณี ถูกใจ, pinestand ขำกลิ้ง, สมาชิกหมายเลข 5384207 ขำกลิ้ง
18 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
รถไฟฟ้ามันมาแน่นอนอยู่แล้ว ถ้าเราช้าเราอาจต้องสูญเสียอะไรอีกหลายอย่าง ต้องบอกว่าเรากินบุญเก่ามานาน นานจนทำให้เราชะล่าใจไม่มีอะไรมารองรับความเปลี่ยนแปลง แต่ก็นั่นแหลครับ ก่อนหน้านี้ก็คงไม่มีใครคิดว่ารถไฟฟ้ามันจะมาเร็วขนาดนี้ ไม่มีใครคิดว่าอัตราการเติบโตของรถไฟฟ้าทั่วโลกมันจะโตเร็วขนาดนี้ การวางแผนระยะยาวผมว่าเราควรรีบสร้างอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด อุตาาหกรรมยานยนต์ไทยมีเจ็บตัวเยอะแน่นอน แต่ดีกว่าการที่เราจะสูญเสียทุกอย่างไป แล้วต้องรีบหาอุตสาหกรรมอื่นมาทดแทนส่วนที่ขาดไป จริงๆ ผมว่าเรายังมีอีก 1 โอกาสที่เราอาจยังแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้อยู่นะ คือ แบตเตอรี่ที่ตอนนี้มีการพัฒนาแบตโซเดียมไอออนซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนลิเธียมในอนาคตออกมาใช้งานจริงแล้ว ถ้าแบตโซเดียมไอออนออกมา จุดอ่อนของเราที่ไม่ใช่แหล่งผลิตลิเธียมหรือนิกเกิ้ลก็จะหายไป แถมโซเดียมก็ราคาถูกกว่าลิเธียมหรือนิกเกิ้ลพอสมควรด้วย จุดแข็งอื่นที่เรามีในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ยังมีอยู่ ทั้งฝีมือประกอบรถที่เราดีกว่าเพื่อนบ้านเยอะ ทำเลประเทศเราเป็นศูนย์กลางของประเทศใช้พวงมาลัยกว่า แถมมีทางเลือกขนส่งทางบกได้ ซึ่งอินโดต้องเลือกส่งออกทางทะเลอย่างเดียว ถึงแม้ตอนนี้เราจะช้าเกินไป แต่ก็ยังมีโอกาสอยู่บ้างครับ
ตอบกลับ
1 1
สมาชิกหมายเลข 724783
27 เมษายน 2565 เวลา 05:31 น.
สมาชิกหมายเลข 929948 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 2
คิดว่า ข้อความข้างบนคงเอาเอาข้อมมูลมาประเมินแล้วเขียนข่าว ถ้าเป็นคนในอุตสาหกรรมยานยนต์จะรู้ว่าตัวแปลและข้อกฎหมายมีมากกว่ากว่านั้น
อย่านึกว่าอะไรผลิตจีนแล้วจะถูกเสมอไป ผมคิดว่ารัฐบาลจีนอุดหนุนและช่วยเหลือไม่ได้ทุกสินค้าครับในอนาคต..การหาขบวนการลดต้นทุนการผลิต
และคุณภาพสินค้า เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ตอบกลับ
0 2
Peem…morA
27 เมษายน 2565 เวลา 07:15 น.
สมาชิกหมายเลข 1452018 ถูกใจ, Disaster Magnet ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 2-1
ตัวแปร ค่ะ
ตอบกลับ
0 1
เตียวเสี้ยนน้อย
28 เมษายน 2565 เวลา 10:56 น.
Peem…morA หลงรัก
ความคิดเห็นที่ 2-2
แต่ไม่แก้นะเพราะมีสาวๆมาแก้ให้แล้ว อิอิ
ตอบกลับ
0 1
Peem…morA
29 เมษายน 2565 เวลา 06:35 น.
สมาชิกหมายเลข 1452018 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 3
ตอนนี้รัฐบาลจีนเริ่มจะไม่อุดหนุน(เลิก)สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
ส่วนไทยรัฐบาลก็มีนโยบายสนับสนุนรถไฟฟ้าออกมาแล้ว
ตอบกลับ
0 1
krairam
27 เมษายน 2565 เวลา 08:38 น.
สมาชิกหมายเลข 1452018 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 4
เป็นบทความที่มั่วซั่วมากๆ อ่านปุ๊บก็รู้เลยว่าเป็นการวิเคราะห์จากหน่วยงานภายนอกที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอะไรในวงการยานยนต์ไทยเลยแม้แต่นิดเดียวแต่เสนอหน้าอยากมาวิเคราะห์โดยใช้พื้นฐานจากอุตสาหกรรมอื่น
1.อนาคตรถยนต์ญี่ปุ่นก็ต้องเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ตอนนี้รถยนต์ญี่ปุ่นที่เป็นระบบ ICE และ HEV ที่ผลิตจากประเทศไทยก็ยังขายได้สบายๆเพราะตลาดที่โรงงานในไทยส่งออกไปขายนั้นมันยังไม่ได้ต้องการรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อตลาดเปลี่ยนในอนาคตก็ได้เวลาที่รถยนต์ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป้นรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน
2.จีนส่งออกรถยนต์เพิ่มก็ไม่แปลกเพราะกำลังการผลิตของจีนมันมากกว่าไทยหลายเท่า ไทยไม่ใช่คู่แข่งของจีนเลยหากจีนต้องการจะส่งออก และช่วยไปดูด้วยว่าตลาดที่จีนส่งออกได้เพิ่มนั้นมันเป็นตลาดเดียวกับที่ไทยส่งออกไปขายหรือไม่ ที่ไทยส่งออกลดลงในปีที่แล้วเพราะตลาดส่งออกของไทยล้วนเป็นประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจาก COVID มากกว่าประเทศร่ำรวยทั้งหลาย สำหรับอินโดที่ส่งออกไปเวียดนามกับฟิลิปปินส์ได้เพิ่มเพราะค่ายรถญี่ปุ่นในไทยปรับกลยุทธ์ให้ไทยผลิตรถ Global Model และ HEV มากขึ้นเพื่อส่งออกไปตลาดอื่น ส่วนพวกรถ Spec. ต่ำก็ผ่องถ่ายไปให้โรงงานที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่าอย่างอินโดนีเซียไปผลิตส่งออกแทนเช่นรถที่ส่งไปขายตลาด Spec. ต่ำอย่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ ย้อนกลับไปที่จีนหากวันใดที่ตลาดจีนต้องการรถยนต์ไฟฟ้า 100% ขึ้นมาจริงๆจีนจะสามารถขยายการส่งออกได้หรือไม่ เพราะลำพังทุกวันนี้ตลาดในจีนยังต้องใช้ค่ายต่างชาติมาผลิตรถป้อนสนอง Demand คนจีนอยู่เลย ด้วยกำลังการผลิตรถจีนทุกวันนี้แค่ตลาดใหญ่ยักษ์ภายในประเทศก็รองรับไม่พออยู่แล้ว
3.FTA จีน-อาเซียนมันดีสำหรับการนำเข้าจำนวนน้อย แต่การนำเข้าในปริมาณมากไม่สามารถทดแทนการผลิตในประเทศได้เพราะไม่สามารถผลิตและส่งมอบด้วยปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆได้ ซึ่งมันไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับยี่ห้อื่นๆที่ผลิตขายอยู่ในประเทศ ตัวอย่างก็มีให้เห็นว่า ORA จองกันแค่ 3.5 พันคันยังต้องหยุดรับจองเพราะไม่มีปัญญาส่งมอบรถได้ตามความต้องการของลูกค้า เพราะฉะนั้นในแง่ของการผลิตจำนวนนับล้านคันต่อปีเพื่อขายในประเทศไทยมันไม่มีทางใช้ FTA มาทดแทนได้อยู่แล้ว
4.Economies of Scale อันนี้ยิ่งมั่วเข้าไปใหญ่เพราะตลาดที่ไทยส่งออกทุกวันนี้มันก็คือตลาดพวงมาลัยขวาเป็นหลักอยู่แล้ว แต่การเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจะปลุกให้ตลาดพวงมาลัยขวาที่เคยอิ่มตัวไปแล้วอย่างไทยและออสเตรเลียกลับมาเป้น Emerging Market อีกครั้งเพราะคนต้องการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ยุคใหม่ต่างหาก
5.อันนี้ก็มั่วสุดๆ ต้นทุนหลักของรถยนต์ไม่ได้อยู่ที่ค่าแรง แต่มันอยู่ที่เทคโนโลยีการผลิตและปริมาณการผลิต หากต้นทุนหลักของรถยนต์อยู่ที่ค่าแรงทำไมทุกวันนี้ผู้ผลิตรถยนต์อันดับแรกๆของโลกคืออเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่นที่มีค่าแรงสูงปรี๊ด ไม่เจีงกันไปหมดแล้วเรอะ
ส่วนเหตุผลอีก 2 ข้อที่เกี่ยวกับแบตนั้น นั่นก็ไม่ได้มีความรู้อะไรเลย
ไทยไม่ได้อยากเป็นผู้ผลิตแบต ไทยอยากเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่เป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ได้แข่งขันกันว่าใครมีวัตถุดิบแต่แข่งขันกันที่ใครมีเทคโนโลยีและความพร้อมในการผลิตรถยนต์ ทุกวันนี้จีนมีทั้งวัตถุดิบ เทคโนโลยี และความพร้อม แต่อินโดนีเซียมีแค่วัตถุดิบจึงไม่มีบริษัทรถยนต์ยี่ห้อไหนประกาศไปลงทุนทำรถยนต์ไฟฟ้าในอินโดนีเซีย ยกเว้น HYUNDAI ที่จะใช้โรงงงานผลิตรถ ICE ของตนในอินโดที่มีอยู่แล้วต่อยอดต่อไป ในขณะที่ในประเทศไทยทั้ง Benz และ BMW ต่างมาลงทุนสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่ BEV เพื่อเพิ่มมูลค่าแบตเตอรี่ในประเทศไทยจากเซลล์แบตที่ซื้อมาในราคาถูก
สรุป คิดว่า KKP Research ไม่รู้เรื่องอะไรก็กรุณาอยู่เงียบๆดีกว่ามาวิเคราะห์มั่วๆออกมาเป็นบทสรุปผิดๆแบบนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ 27 เมษายน 2565 เวลา 09:29 น.
ตอบกลับ
17 25
สมาชิกหมายเลข 5384207
27 เมษายน 2565 เวลา 08:57 น.
สมาชิกหมายเลข 1452018 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3588808 ถูกใจ, master_zo ถูกใจ, ตี๋2555 ถูกใจ, Silent Service ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 6983539 ถูกใจ, Cinnamon_Cake ถูกใจ, Y2J-RaPhaEll ถูกใจ, Disaster Magnet ถูกใจ, Dualay ถูกใจ รวมถึงอีก 15 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
ความคิดเห็นที่ 5
นำเข้าจากจีนถูกกว่า?
แต่เห็นได้ชัดเจนว่า supply จากจีนมีไม่เพียงพอต่อ demand นะ จองต้นปีรับรถปลายปี แค่ในจีนเองก็ผลิตส่งมอบแทบไม่ทันอยู่แล้ว พวงมาลัยก็คนละฝั่ง
แถมถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียนทั้งหมด demand รถ EV ในไทยดูจะจับต้องได้ที่สุดแล้ว ถ้าส่งมอบทันกับความต้องการยอดจองน่าจะมากกว่านี้ด้วยซ้ำ
ตอบกลับ
0 2
MS-06R2
27 เมษายน 2565 เวลา 10:15 น.
สมาชิกหมายเลข 1452018 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 839546 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 5-1
อันนี้ชัดมากว่า KKP ไม่ได้มีความรู้อะไรเรื่องยานยนต์เลยแต่สรุปเอาเองมั่วๆ
นำเข้ามาไม่มีปัญญาส่งมอบสู้กับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศได้แน่นอน
เมื่อญี่ปุ่นไม่มี FTA เรื่องนี้กับไทยหมายความว่าในอนาคตญี่ปุ่นก็ต้องมาลงทุนผลิตภายในไทยเพื่อขาย
เมื่อญี่ปุ่นมาผลิตในประเทศทางจีนก้ต้องมาลงทุนด้วยเพราะไม่งั้นก็แพ้หลุดลุ่ยเนื่องจาก FTA ช่วยอะไรไม่ได้เรื่องข้อจำกัดด้านการส่งมอบ
ตอบกลับ
0 3
สมาชิกหมายเลข 5384207
27 เมษายน 2565 เวลา 10:30 น.
สมาชิกหมายเลข 1452018 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1076123 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 839546 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 5-2
อันนี้ ถามต่อเป็นความรู้
ณ ตอนนี้ที่ส่งมอบรถผ่าน FTA ไม่ทันเป็น เพราะ Supply shock จากโควิทในจีน เรื่อง Chip ด้วยไหม
ถ้าทุกอย่างกลับมาปกติ จีนจะผลิตรถ และส่งมอบได้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน จนสามารถแข่งขันได้กับ การมาลงทุนผลิตในประเทศ
แบบนี้เป็นไปได้ไหม
หรือว่า FTA มีข้อกำหนดว่า นำเข้าได้กี่คันต่อปี
ตอบกลับ
0 0
ข้าวแดงหลวง
27 เมษายน 2565 เวลา 12:15 น.
ความคิดเห็นที่ 5-3
COVID ในจีนมันทำให้วงการยานยนต์ทั่วโลกได้รับผลกระทบครับ ไม่ใช่แค่ในจีนเพราะ Supply ขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนต่างๆมันอยู่ที่นั่น แต่ก็ไม่มีค่ายรถญี่ปุ่นในไทยบอกลูกค้าว่าไม่รับจอง
หรือถ้าจะอ้าง IC ขาดแคลนเหมือนที่ GWMTh อ้างนั่นยิ่งตลกครับเอาไว้หลอกคนที่ไม่รู้เรื่อง เพราะ IC ขาดแคลนมันเป้นมาตั้งแต่ปลายปี 2020 แล้ว แถมเดือนมีนาคมทาง GWM ก็ขาย ORA ในจีนไปเกือบ 7 พันคัน รวมมกรา-มีนา 19,000 คัน แต่มาบอกคนไทยว่าไม่สามารถรับจองเกิน 3.5 พันคันที่ใช้เวลาส่งมอบเป้นปีได้เพราะ IC ขาดแคลนเนี่ยนะครับ
FTA ไม่มีข้อกำหนดเรื่องโควต้า แต่โควต้ามันถูกกำหนดโดยโรงงานผลิตในจีนเองเพราะเค้ามีตลาดจีนเป็นตลาดหลักที่ต้องรับผิดชอบอยู่ ไม่ใช่จู่ๆจะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อส่งไทยเท่าไหร่ก็ได้ ขณะเดียวกันผู้ผลิตชิ้นส่วนก็มีกำลังการผลิตจำกัดเพราะสั่งจองวัตถุดิบและวางแผนกำลังการผลิตกันไว้ล่วงหน้า 3-6 เดือน จู่ๆบริษัทรถยนต์ค่ายหนึ่งจะมาจิกหัวสั่งให้ขายของเพิ่ม 2-3 เท่ามันทำไม่ได้เพราะ supplier ก็มีสัญญาผลิตให้กับยี่ห้ออื่นค้ำคออยู่เหมือนกัน
ตอบกลับ
0 1
สมาชิกหมายเลข 5384207
27 เมษายน 2565 เวลา 13:37 น.
master_zo ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 6
ข่าวนี้ผมอ่านมาหลายวันแล้ว
สื่อพยายามบิดให้บทวิเคราะห์ของเกียรตินาคินภัทรนี้
มีความหมายว่า “อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยไปต่อไม่ไหวในยุค EV” หรืออะไรประมาณนี้
ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่นะครับ คนทำบทวิเคราะห์นี้เขามีมุมมองส่วนตัวของเขาว่า ค่ายญี่ปุ่นล้าหลังจีนในเรื่องรถไฟฟ้า
เขามองว่าอุตสาหกรรมรถไทยอยู่ภายใต้การลงทุนของญี่ปุ่น ดังนั้นหา่กญี่ปุ่น ตกขบวนเราก็ตกไปด้วย
ซึ่งไม่ได้จริงเลยครับ ญี่ปุ่นไม่ได้ตกขบวนรถไฟฟ้าเลย เขาอาจเริ่มออกตัวช้าหน่อยสไตล์อนุรักษ์นิยม
แต่ Toyota ประกาศเลยครับจะออก EV 30 รุ่นภายในปี 2030 (ภายในอีกแค่ 8 ปี หรือเฉลี่ยคือปีละ 4 รุ่น)
แล้วหลังจากนั้น Honda ก็แถลงข่าวตามมาในเลื่อนไขเดียวกัน ดังนั้นอีก 3-4 ปี EV ทั้งจีน ญี่ปุ่นเต็มตลาดแน่นอนครับ
ใครจะว่าไทยตกขบวน EV ด้วยความเป็นห่วงหรือไม่มองอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยบนพื้นฐานความเป็นจริงก็ตาม
ผมอยากแสดง คห.ว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอะไร หรือบริษัทรถยนต์ค่ายไหนเลือกแนวทางใด มันก็มีข้อให้วิเคราะห์วิจารณ์ได้ทั้งนั้น
Research นี้ประเมินว่ามี 3 บทเรียนที่ภาครัฐควรนำไปปรับใช้ในการทำนโยบายซึ่งผมไม่เห็นด้วยเลย
เหมือนอยากจะพูดอะไรก็พูด ไม่ได้มองดูโลกความเป็นจริง
ผมจึงขออธิบายความหักล้างตามสมควรดังนี้
(1) การพึ่งพาการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
เพราะการผลิตในอนาคตไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานทำให้การมาตั้งโรงงานจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ต่างชาติเป็นหลัก
– ถ้ารัฐบาลคิดอย่างนี้ไปด้วยก็ถึงคราว Shipหาย ล่ะครับ
เพราะนั่นแปลว่าการจูงใจให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิต BEV ในประเทศไทยนั้นไม่ใช่คำตอบ
การสนับสนุนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการเข้ามาผลิตก็ไม่จำเป็น เพราะการผลิตในอนาคตไม่จำเป็นต้องใช้แรงงาน
พูดให้ชัดๆนึ่คือข้อเสนอแนะว่า BOI ไม่ควรสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า
(2) ห่วงโซ่การผลิตที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้ไทยต้องกลับมาพิจารณากลยุทธ์การเติบโตระยะยาวว่ายังควรเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่
– นี่เป็นคำถามที่ขยายความมาจากข้อที่ 1 (เขาใช้คำว่าบทเรียน ไม่รู้เหมือนกันว่าเรียนรู้มาแบบไหน)
คือพยายามบอกว่าการเติบโตระยะยาวไม่ใช่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว
เรามาดูข้อที่ 3 กันครับว่าบทเรียนของเขาคืออะไร
(3) การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นหนึ่งในทางออกที่จำเป็นมากที่สุด
เพราะมูลค่าเพิ่มของรถยนต์ EV ในอนาคตจะเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิเลกทรอนิกส์
อย่างไรก็ตามการพัฒนาในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้ยังต้องอาศัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการลงทุน
และการวิจัยและพัฒนา กำกับให้เกิดการแข่งขันเสรี และการลดการคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ
ซึ่งทาง KKP Research มองว่าเรื่องเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
– พูดง่ายๆคือคือให้เราพึ่งพาตัวเอง พัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการลงทุนวิจัยและพัฒนา แบบเสรี ลดการคอรัปชั่น
(ซึ่งคงจะใช้เวลาอีกกี่ 10 ปีก็ไม่รู้ ถึงตอนนั้นโลกเลิกใช้รถไฟฟ้าพอดี)
ตอนนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ในโลกกำลังเกิดดิสทรัปขนาดใหญ่ แน่นอนครับว่าต้องมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่หลายรายล้มหายตายจากไปหรือลดขนาดลง
ความเปลี่ยนแปลงนี้เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของรถยนต์ ICE ก็เหมือนมันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วชั่วข้ามคืน
ประหนึ่งว่าจู่ๆก็มีไฟลุกโหมไหม้บ้านท่านจะวอดทั้งหลัง
มีผู้หวังดีบอกว่าวิธีที่ควรทำคือไปศึกษาวิธีดับไฟและจัดซื้ออุปกรณ์,สวมใส่เครื่องแบบให้ถูกต้องเสียก่อนมันจะทันการณ์หรือครับ
ผมว่าเลอะเทอะ เรื่องแบบนี้ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์มาจัดการครับ
ในเรื่องรถไฟฟ้า จีนมีประสบการณ์ เราก็ส่งเสริมเขาให้เข้ามาผลิต
(ตอนนี้ที่จะเข้ามาผลิตแน่ๆก็มี MG และ ORA ที่จะตามมาก็ BYD, NETA)
ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่น อาจยังไม่มีประสบการณ์ แต่มีศักยภาพเหลือเฟือครับ
รอดูปีหน้าทาง Toyota, Honda เดินหน้า EV แน่นอน ตลาดในไทยใหญ่มากพอควรสำหรับเขา
คู่แข่งเราคืออินโดครับไม่ใช่จีน การสร้างแบรนด์ไทยเอง ณ ตอนนี้ทางอรุณ+ ก็กำลังพยายามอยู่
แต่ขอบอกเลยครับว่าไม่ง่าย ถ้าไม่อยากเป็นตัวตลกในเวทีโลกอย่าง Vinfast ของเวียดนามก็อย่าเพิ่งพยายามเกินตัวอะไรขนาดนั้น
ผมว่าการสนับสนุนให้รถเมล์หรือ รถ บขส.ทุกเส้นทางควรเป็นรถไฟฟ้าให้หมดภายใน 5-8 ปี
โดยรัฐอุดหนุนงบดัดแปลง หรือซื้อคันใหม่ที่ผลิต-ดัดแปลงในประเทศน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมนะครับ
(รถพวกนี้วิ่งและจอดตามกำหนดเวลา การจัดการพลังงานน่าจะพอทำได้)
ส่วนตัวผมว่า Research ของเกียรตินาคินภัทรนี้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
มันจึงให้คำแนะนำที่เลื่อนลอยไม่เป็นสาระอันจับต้องได้ครับ
ตอบกลับ
0 8
สมาชิกหมายเลข 6445427
27 เมษายน 2565 เวลา 21:03 น.
ตี๋2555 ถูกใจ, TKMNJ ถูกใจ, พิงค์วู ถูกใจ, AMIYAMA ถูกใจ, Disaster Magnet ถูกใจ, uncle with a cup of coffee ถูกใจ, เป็ดจิ๋ว ถูกใจ, Peem…morA ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้ารถไฟฟ้า ทำราคาได้เท่ากับรถน้ำมัน ก็คงมีคนสนใจเพิ่มขึ้น
ตอบกลับ
0 0
jamnonk
28 เมษายน 2565 เวลา 07:25 น.
ความคิดเห็นที่ 8
อ่านดูก็รู้คนเขียนข่าวไม่รู้จริงอุตสาหกรรมนี้
ตอบกลับ
0 1
Spirit_Circle
28 เมษายน 2565 เวลา 07:41 น.
Disaster Magnet ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 9
จากที่ฟังมาหลายๆทาง มันวิเคราะห์ได้หลายแบบฮะ
เจ้าตลาดค่ายญี่ปุ่นขยับตัวช้าจริงในเรื่องรถไฟฟ้า เพราะหันไปลงเทคโนโลยีทางเลือกอื่นๆหวังจะกลายเป็นเจ้าตลาดในด้านนั้นๆมาแข่งกับรถไฟฟ้า แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้ผลนัก ตอนนี้รถไฟฟ้าเลยปล่อยให้ค่ายผู้เล่นหน้าใหม่ๆจากจีนและสหรัฐเข้ามาเล่นกันเต็มไปหมด
ทว่าไม่ได้แปลว่าเจ้าตลาดได้พ่ายแพ้ไปแล้วนะครับ เพราะเขายังมีเทคโนโลยีด้านการออกแบบ ระบบกลไกการขับเคลื่อน ระบบความปลอดภัย ระบบไฟฟ้าภายในรถ ไม่รวม supply chain ต่างๆที่สร้างฐานมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ตั้งแต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนไปจนคนขายรถและศูนย์บริการ
ดังนั้นตอนเริ่มผู้ผลิตหน้าใหม่อาจจะดูเด่นดังกว่า แต่ถ้าเจ้าตลาดขยับตัว (ตอนนี้ขยับแล้ว) เขามีศักยภาพที่จะวิ่งกลับมาแข่งขันได้ไว เพราะเขามีทุกอย่างครบ ขาดแค่เทคโนโลยีการผลิตแบตเตอร์รี่ที่อาจจะยังทำได้ไม่ถูกเท่า แต่ชื่อชั้น การบริการ ระบบต่างๆ เขาพร้อมกว่า
รถยนต์ไฟฟ้ามันไม่เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตรงที่ไม่ใช่เน้นการขายขาด เสียก็โยนทิ้ง แต่มันต้องการบริการหลังการขาย อะไหล่ การซ่อมบำรุง ซึ่งจุดนี้ผู้เล่นรายใหม่ยังประสบการณ์น้อยและมีพันธมิตรน้อยกว่า เจ้าตลาดยังได้เปรียบจุดนี้อยู่
ตอบกลับ
0 0
digimontamer
28 เมษายน 2565 เวลา 08:56 น.
ความคิดเห็นที่ 10
อ่านจากเพจนี้ ต้องฟังหูไว้หูครับ
บิดมาหลายบทความแล้ว
ตอบกลับ
0 1
Ex_Machina
28 เมษายน 2565 เวลา 09:47 น.
Disaster Magnet ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 11
ขอลองเดามุมมองของผมเก็บไว้ในพันทิปดีกว่า เผื่ออีกสิบปีข้างหน้ากลับมาอ่านดูกัน อันนี้ความคิดผมจากการติดตามข่าวต่างๆ นะครับ
ขอแยกเป็นสองประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่นะครับ
1. แน่นอนว่าบริษัทญี่ปุ่นไม่ตกขบวนรถ EV แน่นอน บริษัทใหญ่ขนาดนั้น มีทรัพยากร และเทคโนโลยี่การผลิตรถยนต์มากมาย รถ EV ไม่ได้มีแค่แบต กับมอเตอร์ ยังไงมันก็ยังต้องมีระบบบังคับเลี้ยว ช่วงล่าง ระบบทำความเย็น ระบบความปลอดภัย และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งต้องยอมรับว่าความรู้เรื่องพวกนี้ ยังไงบริษัทใหม่ๆ (โดยเฉพาะจากจีน) ไม่มีทางตามญี่ปุ่นทัน ที่สำคัญคือบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้เห็นตัวอย่างในอดีตมาแล้ว คงไม่ยอมทำผิดพลาดแบบพวกเหล่านั้นอีก ดังนั้นเลิกทำนายได้เลยครับว่า โตโยต้าจะเป็นเหมือนโนเกีย ไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน
2. แต่…แล้วอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยล่ะ ผมคิดว่าบริษัทญี่ปุ่นวางแผนไว้แล้วว่าจะให้ ไทยเป็นฐานหลักผลิตรถสันดาป และ hybrid (รวมไปถึง PHEV) ต่อไปอย่างแน่นอน จนกว่าความต้องการรถเหล่านั้นจะหมดไป ซึ่งน่าจะอีกอย่างน้อย 20-30 ปี และไม่น่าจะใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถไฟฟ้าเป็นหลัก เหมือนกับที่เป็นฐานผลิตรถสันดาปในอดีตที่ผ่านมา อาจจะมีการผลิตรถ EV บ้าง แต่ก็เป็นแค่เรื่องสำหรับมาตรการทางภาษีเท่านั้น
เพราะว่าฐานการผลิตรถสันดาป และ hybrid ของไทยเราแข็งแกร่งมาก คุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม บริษัทเหล่านั้นลงทุนในไทยมาอย่างยาวนาน จนเกินคำว่าคุ้มทุนไปแล้ว ทั้งเทคโนโลยี่ แรงงาน และ supply chain เรามีความพร้อมเรื่องนี้มาก ดังนั้นเขาจะย้ายไปผลิตที่อื่นทำไม อาจจะมีอินโดมาเทียบรัศมีบ้าง แต่ก็น่าจะคนละตลาด ให้อินโดทำรถสันดาป และ hybrid สำหรับตลาดระดับล่าง ให้ไทยทำรถสันดาป และ hybrid (และ PHEV) สำหรับตลาดโลก ที่ยังไม่พร้อมใช้รถ EV และยังต้องการใช้รถสันดาปอยู่
ในทางกลับกัน การผลิตรถ EV เป็นการลงทุนใหม่ ดังนั้นเขาสามารถวิเคราะห์ใหม่ได้ว่าที่ใหนมีความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาวมากกว่ากัน ซึ่งตรงนี้ยังบอกไม่ได้ว่าเขามองไทยหรือไม่ แต่ในวันนี้ผมไม่คิดว่าเขามองไทย เพราะเราไม่ได้มีความได้เปรียบสูงมากนัก เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างอินโด เวียดนาม ดังนั้นถ้าใหนๆ เขาก็ต้องลงทุนใหม่ ผมไม่คิดว่าเขาจะสนใจไทย แต่ในอนาคตไม่แน่ ถ้าเรามีแรงจูงใจมากพอก็ why not?
ทำนายไว้แล้วซักสิบปีข้างหน้า ถ้าผมยังอยู่ พันทิปยังอยู่ แล้วลองมากลับมาอ่านกันดูนะครับ ไม่รู้จะถูก หรือผิด 5555
แก้ไขข้อความเมื่อ 28 เมษายน 2565 เวลา 10:41 น.
ตอบกลับ
1 1
Retired Extremely Dangerous
28 เมษายน 2565 เวลา 09:55 น.
Peem…morA ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 11-1
ผ่านไปปีเดียวก็ชัดแล้วว่าผิด ตอนนี้ EV มาไทยกันใหญ่เลยครับ
คุณพลาดตรงที่ไปเข้าใจว่าการผลิตรถ EV เป็นการลงทุนใหม่ จริงๆแล้ว EV มันก็คือรถยนต์ชนิดหนึ่งเท่านั้น ยังไงๆมันก็ต้องต่อยอดจากของเก่า
EV คือรถยนต์ชนิดใหม่ที่จะผลิตที่ไหนต้องมี Volume ที่คุ้มค่าในการผลิต เผอิญว่าไทยมี Volume ที่สามารถผลิตส่งขายได้ทั้งภายในประเทศ ส่งออกไป ASEAN ส่งออกไป ANZ นี่คือสิ่งที่อุตยานยนต์ในอินโดทำไม่ได้ เพราะอุตยานยนต์นั้นไม่ใช่จู่ๆนึกจะไปส่งออกจากโรงงานที่ประเทศไหนก็ได้ตามใจชอบ เพราะเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีในการผลิต ความสามารถของบุคลากร รวมทั้งสิทธิประโยชน์ระหว่างประเทศคู่ค้าของแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกัน
แต่ไม่ต้องห่วงครับหลังจากมาลงทุนในประเทศไทยอย่างเต็มที่และไทยกลายเป็น Lead Plant รวมทั้ง Hub ส่งออกในการผลิต EV ในภูมิภาคนี้แล้ว พวกค่ายรถต่างๆก็จะทยอยไปสร้างที่อินโดนีเซียต่อ แต่ที่อินโดนีเซียจะทำเพื่อขายภายในประเทศก่อนเท่านั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 11:33 น.
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 5384207
6 กรกฎาคม 2566 เวลา 11:32 น.
ความคิดเห็นที่ 11-2
ด้วยความเคารพในความเห็น แต่รบกวนลองอ่านที่ผมเขียนใหม่ช้าๆ อีกรอบครับ
บทความเขากล่าวถึง “อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” ไม่ใช่ “ตลาดรถยนต์ EV ในประเทศไทย” ครับ หมายถึงการประกอบ การผลิตรถ EV ภายในประเทศ ไม่ใช่นำเข้ามาจากจีนกันเต็มตลาดแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ครับ ตอนนี้ยังไม่เห็นมีใครประกอบรถ EV แบบตลาดแมสจริงจังเลยซักราย (ผมไม่แน่ใจว่า Ora ประกอบไทยแบบใช้ชิ้นส่วนในประเทศใหม เท่าที่เข้าใจคือนำเข้ามา re-assembly ทั้งคัน ถ้าผิดขออภัยครับ)
ที่ผมทำนาย (เดา) ไว้คือ ผู้ผลิตหลักๆ จากญี่ปุ่นน่าจะวางให้ไทยเป็นฐานการประกอบรถสันดาป และ Hybrid (ทั้ง HEV และ PHEV) ครับ ยังไม่น่าจะใช่ EV แต่เราไม่รู้อนาคตหรอกครับ รอเวลาเฉลย รอดูกันครับ
ตอบกลับ
0 0
Retired Extremely Dangerous
7 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:13 น.
ความคิดเห็นที่ 11-3
ผมคิดว่าคุณคงไม่มีความรู้ในเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์นะครับถึงได้ตอบมาในลักษณะนี้
ตอนนี้มีรถยนต์หลายรุ่นที่เข้าร่วมในโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการอุดหนุนจากภาครัฐ ซึ่งรถยนต์ที่รับเงินส่วนลด/ปเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องผลิตภายในประเทศไทยด้วยอัตราส่วน Local content 60% ขึ้นไปภายในปี 2567 ด้วยจำนวน 1.5 เท่าของยอดขายปี 65+66 MG ZS EV MG EP/ES ORA Good Cat BYD Atto 3 BYD Dolphin Neta V Toyota BZ4X
เหล่านี้คือรถยนต์ที่มีพันธะสัญญาที่จะต้องผลิตตามมาตรการดังกล่าว และทุกยี่ห้อก็กำลังเตรียมตัวกันอยู่ บ้างกำลังตั้งสายการผลิต บ้างกำลังสร้างโรงงาน ทั้งหมดจะเริ่มผลิตภายในปี 67
ยังไม่นับอีกหลายยี่ห้อที่ไม่ได้ร่วมหรือยังไม่ได้ร่วมโครงการ แต่มีการยืนยันแผนการผลิตในประเทศไทยแล้ว หรือบางยี่ห้อกำลังสร้างโรงงานใหม่
HONDA ที่จะเริ่มประกอบ e:NP1 ภายในสิ้นปีนี้
GAC Aion กำลังสร้างโรงงาน
Chang-An กำลังสร้างโรงงาน
Horizon+ (Foxconn) กำลังสร้างโรงงาน
ในขณะที่อินโดนีเซียและเวียดนามที่คุณบอกนั้น มีใครสนใจไปลงทุนและมีแผนผลิตเป็นตัวเป็นตนบ้างครับ?
สิ่งที่ผมเขียนใน 11-1 นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการนำเข้ารถยนต์มาขายครับ ทั้งหมดเกี่ยวกับการลงทุนผลิตภายในประเทศทั้งสิ้น แค่คุณไม่รู้เรื่องก็เลยตามผมไม่ทันก็เท่านั้นเอง ผมถึงได้เขียนว่าคุณพลาดตรงที่ไปเข้าใจว่าการผลิตรถ EV เป็นการลงทุนใหม่ จริงๆแล้ว EV มันก็คือรถยนต์ชนิดหนึ่งเท่านั้น ยังไงๆมันก็ต้องต่อยอดจากของเก่า
ส่วนทำไมไทยถึงได้มีข้อได้เปรียบมากมายจนค่ายรถต่างพากันตบเท้าเข้ามาสร้างโรงงานและสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก่อนใครใน ASEAN โดยที่อินโดนีเซียและเวียดนามของคุณไม่มีประตูสู้เลยนั้น ก็รบกวนเลื่อนขึ้นไปอ่านที่ผมตอบไว้ในความเห็นที่ 4 ครับ
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 5384207
7 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:52 น.
ความคิดเห็นที่ 11-4
ส่วนเรื่องรถญี่ปุ่นมันก็ไม่ได้ยากอะไรครับ เพราะตอนนี้รถญี่ปุ่นในตลาดโลกก็ไม่ได้ตัวผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าไปแข่งอะไรกับชาวบ้านเค้า แล้วจะให้มาผลิตอะไรที่ไทยล่ะครับ
กว่ารถญี่ปุ่นทั้ง TOYOTA, HONDA และยี่ห้ออื่นๆจะตั้งหลักเริ่มลุยตลาดโลกกับรถยนต์ไฟฟ้าได้ก็ครึ่งหลังของปี 2024 เป็นต้นไป และกว่าจะมาเริ่มการผลิตในประเทศไทยจริงๆจังๆก็ต้องราวปี 2026 โน่น ซึ่งในระหว่างนี้รถญี่ปุ่นมันก็ไม่ได้ไปทำอะไรที่อินโดนีเซียหรือเวียดนามหรอก เพราะถ้าโรงงานที่ไทยซึ่งเป็น Lead Plant ในภูมิภาคนี้ยังไม่ได้ผลิต ทางโรงงานที่อินโดนีเซียและเวียดนามก็ผลิตไม่ได้เหมือนกันเพราะต้องรอไทยผลิตนำร่องก่อน นี่คือธรรมชาติของอุตสาหกรรมยานยนต์ครับไม่ใช่นึกจะไปผลิตที่ไหนก็ไปได้
แก้ไขข้อความเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 14:07 น.
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 5384207
7 กรกฎาคม 2566 เวลา 14:04 น.
ความคิดเห็นที่ 11-5
ขอบคุณครับ รอดูด้วยกันครับ
ตอบกลับ
0 0
Retired Extremely Dangerous
7 กรกฎาคม 2566 เวลา 15:41 น.
ความคิดเห็นที่ 12
มีข้อสงสัยเพิ่ม
ว่าคนที่เผยแพร่งานวิจัยนี้เป็นใคร มีผลงานอะไร แล้วสุดท้าย ทำไมเราต้องเชื่อเขาด้วย? เพราะส่วนใหญ่อ่านแล้วเชื่อเลยไม่ได้มีการคิดวิเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น
เพิ่มเติมเล็กน้อย Toyota กำลังจะเซ็น MOU ขอการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้ากับรัฐบาลในวันที่ 29 แล้วนะครับ
มาแข่งกันเยอะ ๆ ก็ดี จะได้ไม่ต้องมีแต่ค่ายจีนที่คนยังไม่มั่นใจในคุณภาพแต่ไม่กั๊ก กับค่ายยุโรปที่คนทั่วไปเอื้อมไม่ถึง
จะได้มีรถที่คนมั่นใจคุณภาพแต่กั๊ก มาเป็นทางเลือกในผู้บริโภค
แก้ไขข้อความเมื่อ 28 เมษายน 2565 เวลา 10:29 น.
ตอบกลับ
0 1
MS-06R2
28 เมษายน 2565 เวลา 10:23 น.
สมาชิกหมายเลข 6983539 ขำกลิ้ง
ความคิดเห็นที่ 12-1
เมื่อมีผลิตภัณฑ์แล้วใครจะไม่เซ็นล่ะครับ เพราะค่ายญี่ปุ่นเองที่พยักหน้าเห็นด้วยกับการสนับสนุนนี้เนื่องจากจะทำให้มีรถยนต์ไฟฟ้ามาขายแข่งกับรถจีนได้ในอัตราภาษีนำเข้า 0% เช่นกัน แถมด้วยการที่สามารถนำเข้าชิ้นส่วน Module มาผลิตชดเชยแบบ SKD ได้ ซึ่งทำให้ค่ายญี่ปุ่นไม่ต้องลงทุนด้านห่วงโซ่อุปทานของชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยไปอีก 3-5 ปี (แต่มีรถมาขายได้โดยไม่มีภาษีนำเข้า) มีแต่ได้กับได้กับได้กับได้แบบนี้เป็นใครก็เซ็นครับเมื่อมีผลิตภัณฑ์พร้อมแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 28 เมษายน 2565 เวลา 13:54 น.
ตอบกลับ
0 1
สมาชิกหมายเลข 5384207
28 เมษายน 2565 เวลา 11:11 น.
Disaster Magnet ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 12-2
https://media.kkpfg.com/document/2022/Apr/KKP%20Research_Thai_Automotive_Industry_Analysis_Final.pdf
แก้ไขข้อความเมื่อ 28 เมษายน 2565 เวลา 18:11 น.
ตอบกลับ
0 1
Turn
28 เมษายน 2565 เวลา 18:10 น.
MS-06R2 ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ให้ได้อ่านนะครับ
สั้นๆนะ ข้อมูลยังไม่น่าเชื่อถือมากเพียงพอ
ตอบกลับ
0 0
Amalgamate
28 เมษายน 2565 เวลา 14:45 น.
ความคิดเห็นที่ 13-1
https://media.kkpfg.com/document/2022/Apr/KKP%20Research_Thai_Automotive_Industry_Analysis_Final.pdf
แก้ไขข้อความเมื่อ 28 เมษายน 2565 เวลา 18:12 น.
ตอบกลับ
0 1
Turn
28 เมษายน 2565 เวลา 18:12 น.
Amalgamate ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 13-2
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
0 0
Amalgamate
28 เมษายน 2565 เวลา 19:48 น.
ความคิดเห็นที่ 14
ไหนว่รัฐบาลบให้นำเข้ารถไฟฟ้าไม่เสียภาษี
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 6619897
28 เมษายน 2565 เวลา 23:12 น.
ความคิดเห็นที่ 15
ไม่อยู่ใน วงการก็เขียนไปเรื่อย………ถ้าไทยทำไม่ได้บอกเลยในโลกนี้(ยกเว้นประเทศที่เป็นเจ้าของแบรนด์หลัก) เหลือน้อยประเทศมากที่ทำได้ ลองบอกชื่อมาสักประเทศสิครับว่าประเทศไหนได้ไปต่อ….ถ้าไม่มีไทย
อินโดฯนี่นะคู่แข่งที่น่ากลัว เครื่องไม้เครื่องมือช่างเทคนิค บริษัทญี่ปุ่นส่งไปให้จากประเทศไทยเกือบหมด อินโดฯ นะเด็กเมื่อวานซืนในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
แก้ไขข้อความเมื่อ 29 เมษายน 2565 เวลา 09:15 น.
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 6726745
29 เมษายน 2565 เวลา 09:11 น.
ความคิดเห็นที่ 16
ผมว่าตอนนี้ควรพลิกวิกฤต ให้เป็นโอกาส ตอนนี้ ราคาน้ำมันแพงบ้าเลือด
แทนที่จะเอาเงิน มาพยุงราคาน้ำมัน หันเอาเงินมา ลดราคารถไฟฟ้าดีกว่า
ถ้า รัฐบาล สนับสนุน ให้ หันไปใช้รถไฟฟ้ากัน ด้วย การดันราคารถไฟฟ้า
ให้ถูกกว่ารถยนต์น้ำมัน โดยเฉพาะพวกรถขนส่ง รถบรรทุก หรือ รถขนส่ง
มวลชน
รับรอง ตลาดที่ เน้นเรื่อง Price Sensitive อย่างไทยจะไปฉลุยเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ 29 เมษายน 2565 เวลา 14:07 น.
ตอบกลับ
0 0
Pongkm
29 เมษายน 2565 เวลา 14:07 น.
ความคิดเห็นที่ 16-1
แล้วรถน้ำมันปัจจุบันทำไง ทิ้งเลยเหรอครับ
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 6726745
29 เมษายน 2565 เวลา 16:09 น.
ความคิดเห็นที่ 16-2
เอามาใส่ชุด Kit เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น ไฟฟ้า
ตอบกลับ
0 0
Pongkm
29 เมษายน 2565 เวลา 16:19 น.
ความคิดเห็นที่ 17
หากว่ารถไฟฟ้ามาแรง
คิดว่ารถเมล์ใน กทม ก็จะยังคงเดิม
รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ตอบกลับ
0 0
โตนสะตอ ณ เขาบรรทัด
29 เมษายน 2565 เวลา 15:37 น.
ความคิดเห็นที่ 18
EV จากแบตเตอรี่ ไป อินโดนีเซีย หมด
ไทยต้องไป hydrogen full cell ก็อาจจะไม่รอดอยู่ดี เพราะเดินหน้าไปก่อน 2 ก้าว จะตกม้าตาย
ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่รองรับ
Hydrogen Energy คือพลังงานแห่งอนาคต จริงๆ เครื่องบิน บ้าน รถ
เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน มาผลิต hydrogen ไปก่อนเลย จับมือกับ TOYOTA กับ รัฐบาลญี่ปุ่น ไปเลย
ตอบกลับ
0 0
ทำเซียนเพราะเรียนมา
4 พฤษภาคม 2565 เวลา 22:20 น.