จับตามองภาพยนตร์ 9 เรื่อง ที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญบนเวทีออสการ์ 2023

Source: จับตามองภาพยนตร์ 9 เรื่อง ที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญบนเวทีออสการ์ 2023

“title”:”จับตามองภาพยนตร์ 9 เรื่อง ที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญบนเวทีออสการ์ 2023″,”abstract”:”ไทยรัฐพลัสรวบรวมข้อมูลมาเพื่อคาดการณ์ถึงหนังที่น่าจะมีบทบาทสำคัญบนเวทีออสการ์ปีนี้ อาทิ The Fabelmans, The Banshees of Inisherin, Everything Everywhere All At Once และ RRR”,”summary”:”ฤดูกาลของการประกาศผลรางวัลภาพยนตร์ได้เริ่มต้นแล้ว เพราะต้นปีถือเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์และผลรางวัลภาพยนตร์ต่างๆ จากเวทีรางวัลหลายแห่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้คาดการณ์ถึงหนังที่น่าจะมีบทบาทเวทีออสการ์ 2023 ได้ \nไทยรัฐพลัสจึงได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่อคาดการณ์ถึงหนังที่น่าจะมีบทบาทสำคัญบนเวทีออสการ์ปีนี้ เป็นจำนวน 9 เรื่องด้วยกัน อาทิ The Fabelmans, The Banshees of Inisherin, Everything Everywhere All At Once และ RRR”,”widgets”:[{“__typename”:”Widget”,”layout”:”default”,”data”:[{“__typename”:”WidgetData”,”description”:”\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eฤดูกาลของการประกาศผลรางวัลภาพยนตร์ได้เริ่มต้นแล้ว เพราะต้นปีถือเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์และผลรางวัลภาพยนตร์ต่างๆ จากเวทีรางวัลหลายแห่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้คาดการณ์ถึงหนังที่น่าจะมีบทบาทเวทีออสการ์ 2023 ได้\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eไทยรัฐพลัสจึงได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่อคาดการณ์ถึงหนังที่น่าจะมีบทบาทสำคัญบนเวทีออสการ์ปีนี้ เป็นจำนวน 9 เรื่องด้วยกัน\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eหมายเหตุ :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eจะมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงออสการ์ในวันที่ 24 มกราคม และจัดงานมอบรางวัลในเช้าวันที่ 13 มีนาคมนี้ ตามเวลาในประเทศไทย\u0026nbsp;\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4aur8W5tfa5Y7CFKzrjjrxNXQe9vA1.jpeg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4aur8W5tfa5Y7CFKzrjjrxNXQe9vA1.jpeg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eTop Gun: Maverick\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทดัดแปลงยอดเยี่ยม, ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, เพลงประกอบยอดเยี่ยม, ออกแบบฉากยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, เอฟเฟกต์พิเศษยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังเรื่องนี้เป็นผลงานกำกับของ \u003cstrong\u003eโจเซฟ โคซินสกี\u003c/strong\u003e ซึ่งเป็นหนังภาคต่อของ \u003cstrong\u003eTop Gun\u003c/strong\u003e (1986) โดยบอกเล่าเรื่องราวหลังจากภาคแรกสามสิบปี เมื่อ \u003cstrong\u003eพีต ‘มาเวอริก’ มิตเชลล์\u003c/strong\u003e สุดยอดนักบินของกองทัพได้รับมอบหมายให้ฝึกกลุ่มนักบินรุ่นใหม่เพื่อทำภารกิจสุดอันตราย ซึ่งหนึ่งในลูกศิษย์ของเขา คือลูกชายของเพื่อนนักบินผู้เสียชีวิตไปแล้ว และภารกิจดังกล่าวก็ทำให้มาเวอริกต้องกลับไปเผชิญหน้ากับอดีตที่ผิดพลาด รวมถึงรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอนด้วย\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแม้จะสร้างห่างจากภาคแรกถึง 36 ปี แต่หนังก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งด้านเสียงวิจารณ์และรายได้ (มันเป็นหนังทำเงินทั่วโลกสูงสุดของปีที่อันดับสอง) โดยสาเหตุของความสำเร็จมาจากตัวนักแสดงนำอย่าง \u003cstrong\u003eทอม ครูซ\u003c/strong\u003e ที่กลับมารับบทเดิมที่เคยสร้างชื่อให้แก่เขา รวมถึงตัวหนังที่ทั้งสนุก มีคุณภาพเยี่ยม และมีเทคนิคโดดเด่น จนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดประสบการณ์ภาพยนตร์แห่งปี\u003c/p\u003e\u003cp\u003eอย่างไรก็ดี ยังมีหนังบล็อกบัสเตอร์ภาคต่ออีกหลายเรื่องที่น่าจะมีบทบาทบนเวทีออสการ์เช่นกัน อาทิ \u003cstrong\u003eAvatar: The Way of Water\u003c/strong\u003e, \u003cstrong\u003eBlack Panther: Wakanda Forever\u003c/strong\u003e, \u003cstrong\u003eGlass Onion: A Knives Out Mystery\u003c/strong\u003e เป็นต้น แต่เรื่องที่น่าจะไปได้ไกลที่สุดนั้นคือ \u003cstrong\u003eTop Gun: Maverick\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eเพราะมันมีลุ้นถึงขั้นหนังยอดเยี่ยม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง เพราะถึงหนังภาคแรกจะทำรายได้และสร้างปรากฏการณ์ได้ในยุคนั้น แต่มันก็ไม่ได้เป็นหนังรางวัล แถมยังมีองค์ประกอบที่ดูเชยในมุมมองของผู้ชมปัจจุบันเสียด้วยซ้ำ แต่ Top Gun: Maverick กลับกลายมาเป็นหนังรางวัลที่มีบทบาทในเวทีต่างๆ จนหลายสำนักคาดการณ์ว่า มันน่าจะมีโอกาสถึงขั้นได้ออสการ์หนังยอดเยี่ยม ขณะที่ด้านเทคนิคต่างๆ ก็ยังมีลุ้นในหลายสาขา แม้ต้องแข่งกับตัวเก็งอย่าง Avatar: The Way of Water ก็ตาม\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eช่องทางรับชม : จะเข้าฉายทาง HBO Go ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม หรือสามารถเช่าดูได้แบบถูกลิขสิทธิ์ในหลายช่องทาง\u0026nbsp;\u003c/strong\u003e\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4autXU5hQktTOX9sYGoJOOIHce9vA1.jpg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4autXU5hQktTOX9sYGoJOOIHce9vA1.jpg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eThe Fabelmans\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทออริจินัลยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (มิเชลล์ วิลเลียมส์), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พอล ดาโน, จัดด์ เฮิร์สช์), กำกับภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ออกแบบฉากยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eผลงานของผู้กำกับ \u003cstrong\u003eสตีเวน สปีลเบิร์ก\u003c/strong\u003e ที่เล่าเรื่องราวเส้นทางชีวิตของเด็กชายคนหนึ่ง (ซึ่งจำลองมาจากชีวิตของสปีลเบิร์กเอง) นับตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่ต้องอยู่ในครอบครัวซึ่งพ่อแม่หย่าร้างกันจนกลายเป็นคนที่มีปมในใจ ก่อนจะเติบโตมาโดยได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ต่างๆ และได้รับการสนับสนุนจากคนรอบตัว จนกลายเป็นผู้กำกับฮอลลีวูดบล็อกบัสเตอร์ที่ยิ่งใหญ่อันดับต้นๆ \u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eในปีนี้มีผู้กำกับชื่อดังที่ทำหนังกึ่งชีวประวัติของตัวเองหลายเรื่อง ได้แก่ \u003cstrong\u003eBardo\u003c/strong\u003e (กำกับโดย อเลฆันโดร กอนซาเลซ อินาร์ริตู), \u003cstrong\u003eArmageddon Time\u003c/strong\u003e (เจมส์ เกรย์) และ \u003cstrong\u003eEmpire of Light\u003c/strong\u003e (แซม เมนเดส) แต่หนังแนวนี้ที่น่าจะไปได้ไกลบนเวทีออสการ์มากที่สุดก็น่าจะได้แก่ The Fabelmans นี่เอง โดยมันเป็นหนังที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดของสปีลเบิร์ก และได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นหนังที่ดีที่สุดของเขาในยุคหลัง ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นหนังชีวประวัติแล้ว หนังยังมีประเด็นเกี่ยวข้องกับเรื่องความทรงจำ, ครอบครัว, การก้าวข้ามผ่านวัย, การหวนไห้ถึงอดีต และพลังของสื่อภาพยนตร์ (ประเด็นหลังทำให้หนังเข้าทางออสการ์มากๆ) \u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังคว้ารางวัลจากเทศกาลหนังและเวทีรางวัลหลายแห่ง (รวมถึงรางวัลขวัญใจมหาชนจากเทศกาลหนังโตรอนโต ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาก็ช่วยรับประกันว่า หนังน่าจะได้ชิงออสการ์) ทำให้มันกลายเป็นตัวเก็งสาขาหนังยอดเยี่ยมในอันดับต้นๆ ของปีนี้ และอาจทำให้สปีลเบิร์กคว้าออสการ์ผู้กำกับยอดเยี่ยมมาครองได้เป็นครั้งที่สาม\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eช่องทางรับชม : เข้าฉายโรงที่ไทย ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไป\u003c/strong\u003e\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auhXCrVXPDm8NAspBLmBdKB8e9vA1.jpg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auhXCrVXPDm8NAspBLmBdKB8e9vA1.jpg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eThe Banshees of Inisherin\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทออริจินัลยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (โคลิน ฟาร์เรลล์), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เบรนแดน กลีสัน, แบร์รี คีโอแกน), นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เคอร์รี คอนดอน), ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังเรื่องนี้เป็นการกลับมาร่วมงานกันอีกครั้งหลังจาก \u003cstrong\u003eIn Bruges\u003c/strong\u003e (2008) ของผู้กำกับ/เขียนบท \u003cstrong\u003eมาร์ติน แมกโดนาฟ\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eกับนักแสดงอย่าง \u003cstrong\u003eโคลิน ฟาร์เรลล์\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eและ\u003cstrong\u003e\u0026nbsp;เบรนแดน กลีสัน\u003c/strong\u003e โดยเรื่องราวของ \u003cstrong\u003eThe Banshees of Inisherin\u003c/strong\u003e เกิดขึ้นที่เกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในไอร์แลนด์ ปี 1923 เมื่อมิตรภาพของเพื่อนสนิทสองคนต้องจบลง เพราะฝ่ายหนึ่งตัดสินใจว่าจะเลิกคบหาพูดคุยกับอีกฝ่าย เนื่องจากอยากใช้เวลาในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลาย ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองในฉากหลังของหนังที่กำลังเกิดสงครามกลางเมืองไอริชอยู่พอดี\u003c/p\u003e\u003cp\u003eในบรรดาหนังตัวเก็งออสการ์ปีนี้ หนังที่มีลักษณะ ‘ไม่แมส’ และหาจุดขายยากที่สุดได้แก่หนังเรื่องนี้ (ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หนังไม่ได้เข้าฉายโรงในไทย โดยถูกส่งตรงไปยังสตรีมมิงเลย) ทั้งจากเรื่องย่อของหนังที่เรียบง่ายอย่าง “เพื่อนตัดสินใจเลิกคบกัน” และฉากหลังที่ดูไกลตัวผู้ชม ทั้งช่วงเวลาและสถานที่ แต่ตัวหนังที่ออกมา กลับเข้าถึงง่าย และทำให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อมโยงได้ไม่ยาก\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อยู่ที่บทหนังอันลึกซึ้งคมคาย มีความเป็นมนุษย์อยู่สูง ผสมผสานระหว่างตลกร้ายกับความหดหู่สิ้นหวังได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังพูดถึงประเด็นได้หลากหลาย เช่น ความหมายของชีวิต, ศิลปะ, ความขัดแย้ง, มิตรภาพ, ปัญหาทางจิต ฯลฯ นอกจากนั้น หนังยังมีทีมนักแสดงซึ่งสอดประสานกันได้อย่างลงตัว ทำให้มันเป็นหนึ่งในหนังที่กวาดรางวัลจากนักวิจารณ์ปีนี้มากที่สุด และกลายเป็นตัวเก็งรางวัลอันดับต้นๆ\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eช่องทางรับชม : เข้าฉายแล้วทาง Disney+ Hotstar\u003c/strong\u003e\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/3bNY9FEfpsySgNb4BZJYgkyYzp1V2nQr5H3qlOXZiOzI7Ue9vA1.jpeg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/3bNY9FEfpsySgNb4BZJYgkyYzp1V2nQr5H3qlOXZiOzI7Ue9vA1.jpeg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eEverything Everywhere All At Once\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u003c/strong\u003e หนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทออริจินัลยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหนังยอดเยี่ยม (มิเชลล์ โหย่ว), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (คีฮุยควน), นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สเตฟานี ซู, เจมี ลี เคอร์ติส), ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังเซอร์ไพรส์ฮิตของปีนี้จากค่าย A24 ผลงานของผู้กำกับสอง \u003cstrong\u003eแดเนียล\u003c/strong\u003e (แดเนียล ควาน กับ แดเนียล ไชเนิร์ต) ที่เล่าเรื่องของหญิงชาวจีนในอเมริกาที่ต้องแบกรับภาระต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องธุรกิจ, การจัดการภาษี, การดูแลครอบครัว, ความดูแลสัมพันธ์ที่มีต่อสามี ลูกสาว และพ่อของเธอซึ่งไม่ราบรื่นนัก จนวันหนึ่งเธอพบว่ายังมีตัวเธออีกหลายคนอยู่ในมัลติเวิร์สอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนมีเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะมีวายร้ายที่มาทำให้สมดุลของมัลติเวิร์สเสียไป และเธอคือความหวังเดียวในการแก้ไขสถานการณ์นี้\u003c/p\u003e\u003cp\u003eในปีก่อนๆ หนังที่ได้เข้าชิงหนังยอดเยี่ยมออสการ์ มักเป็นแนว Minimalist ซึ่งเน้นความน้อยและความนิ่ง แต่ในปีนี้ต้องถือเป็นปีของหนัง Maximalist ที่จัดเต็มองค์ประกอบต่างๆ แบบอัดล้น (ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องนี้ ยังมีหนังแนวนี้อย่าง RRR กับ Babylon รวมอยู่ด้วย) โดยหนังรวบรวมเอาองค์ประกอบหลากหลายและแนวหนังตระกูลต่างๆ มาไว้ในเรื่องเดียวกัน ทั้งไซไฟ, มาร์เชียลอาร์ต, คอเมดี้, ดราม่าครอบครัว, โรแมนติก ฯลฯ และถึงแม้หนังจะเกี่ยวข้องกับเรื่องไกลตัวเกินจะจินตนาการไปถึงอย่างมัลติเวิร์ส และความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุดของจักรวาลต่างๆ แต่สุดท้ายหนังก็พูดถึงเรื่องพื้นฐานที่ผู้ชมเข้าถึงได้ง่าย นั่นคือความรัก ครอบครัว การช่วยเหลือกัน และการเลือกเส้นทางชีวิต\u003c/p\u003e\u003cp\u003eจากเสียงชื่นชมและรางวัลต่างๆ ที่หนังคว้ามาได้มากกว่าหนังเรื่องอื่นๆ ทำให้ส่วนใหญ่เก็งว่า หนังเรื่องนี้มีโอกาสสูงมากที่จะได้ออสการ์หนังยอดเยี่ยม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ มันจะกลายเป็นหนังยอดเยี่ยมของออสการ์ที่มีความแปลกและแตกต่างมากที่สุดในยุคหลัง\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003e\u003cem\u003eช่องทางรับชม : เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไปแล้วช่วงกลางปี 2022 และน่าจะกลับมาฉายใหม่ช่วงใกล้ประกาศผลออสการ์ต้นปี 2023\u003c/em\u003e\u003c/strong\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4aumIR4qkQvcALFs1a2huClLJEHuAe9vA1.jpg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4aumIR4qkQvcALFs1a2huClLJEHuAe9vA1.jpg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eTár\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทออริจินัลยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (เคต แบลนเชตต์), นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (นีนา ฮอสส์), ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ออกแบบฉากยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eผลงานกำกับ/เขียนบทของ \u003cstrong\u003eทอดด์ ฟิลด์\u003c/strong\u003e ซึ่งห่างจากหนังเรื่องก่อนของเขา (Little Children ปี 2006) นานถึง 16 ปี หนังบอกเล่าถึงชีวิตของ \u003cstrong\u003eลีเดีย ทาร์\u003c/strong\u003e นักประพันธ์ดนตรีและวาทยกรระดับแถวหน้าของโลก เธอเป็นผู้กำกับหญิงคนแรกของวงออร์เคสตราใหญ่ของเยอรมัน ซึ่งเส้นทางสู่ความสำเร็จของเธอไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโลกของวาทยกรถูกมองว่าเป็นโลกของผู้ชาย และถึงแม้เธอจะเป็นเพอร์เฟกชันนิสต์ที่ทุ่มทั้งชีวิตให้กับการทำงาน และการควบคุมสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่แล้วชีวิตของเธอก็มีอันต้องผิดแผน และล่มสลายลง ทั้งด้านการงานและเรื่องส่วนตัว\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแม้ ลีเดีย ทาร์ จะถูกสมมติขึ้นมา แต่ด้วยรายละเอียดของตัวละครที่ซับซ้อนและสมจริง จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ชมจะคิดว่าเธอมีตัวตนอยู่จริง แถมจุดเด่นของหนังยังอยู่ที่ประเด็นร่วมสมัยอย่างแนวคิดเฟมินิสต์ และชีวิตอันยุ่งยากของศิลปิน รวมไปถึงการแสดงอันทรงพลังของ\u003cstrong\u003e\u0026nbsp;เคต แบลนเชตต์\u003c/strong\u003e ซึ่งก็สมศักดิ์ศรีการเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งยุค โดยโอกาสที่เธอจะได้ออสการ์ตัวที่สามมีสูงมาก (ถ้าไม่โดนขัดขวางโดยคู่แข่งสำคัญอย่าง มิเชลล์ โหย่ว จาก Everything Everywhere All At Once)\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eช่องทางรับชม : เข้าฉายโรงที่ไทย ตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป\u003c/strong\u003e\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4aulrSGs1a2hd7LRPSvXrMCnJuT2Ae9vA1.jpg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4aulrSGs1a2hd7LRPSvXrMCnJuT2Ae9vA1.jpg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eAftersun\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทออริจินัลยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (พอล เมสคาล), ลำดับภาพยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eผลงานกำกับหนังยาวเรื่องแรกของ \u003cstrong\u003eชาร์ล็อตต์ เวลส์\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาววัยสิบเอ็ดปี ในช่วงเวลาที่พวกเขาออกเดินทางท่องเที่ยวที่ตุรกีเมื่อปลายยุค 90 ซึ่งมันเป็นวันหยุดครั้งสุดท้ายที่พวกเขาได้ใช้เวลาร่วมกัน ยี่สิบปีต่อมา ลูกสาวจึงได้ย้อนกลับไปทบทวนเหตุการณ์ดังกล่าว และพยายามปะติดปะต่อเพื่อทำความเข้าใจตัวตนและความเจ็บปวดของพ่อเธอ\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eความน่าสนใจของหนังอยู่ที่ฟุตเทจในช่วงย้อนอดีตบางช่วง เป็นภาพเกรนแตกแบบโฮมวิดีโอยุค 90 ที่ถ่ายโดยกล้อง DV ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นเรื่องความทรงจำที่มีต่อผู้คนในอดีต อันมีลักษณะไม่คมชัด แยกส่วน ไม่อาจเข้าใจได้ถ่องแท้ โดยการถ่ายทอดเรื่องราวของความทรงจำได้อย่างมีพลังเช่นนี้ ก็ถือเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ผู้ชมไม่อาจลืมเลือนหนังเรื่องนี้ได้\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eออสการ์ทุกปีมักจะมีหนังฟอร์มเล็กของผู้กำกับหน้าใหม่ได้เข้าชิงหนังยอดเยี่ยม ซึ่งปีนี้โอกาสน่าจะเป็นของ หนังเรื่องนี้ โดยหนังได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากตั้งแต่เข้าฉายในสาย Critics’ Week ของเทศกาลหนังเมืองคานส์ และเทศกาลหนังต่างๆ ทั้งยังติดอันดับอันดับหนึ่งหนังยอดเยี่ยมแห่งปีจากสื่อหลายสำนัก เช่น Sight \u0026amp; Sound, The Guardian, Indiewire เป็นต้น ทำให้น่าจับตามองว่าหนังเรื่องนี้อาจมาแรงจนคว้ารางวัลใหญ่แซงหน้าหนังฟอร์มใหญ่เรื่องอื่นๆ ก็เป็นได้\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eช่องทางรับชม : เข้าฉายโรงที่ไทย ตั้งแต่ 19 มกราคมนี้เป็นต้นไป\u003c/strong\u003e\u003c/em\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auvtsv0KRHSh3GTRriiATgdwe9vA1.jpg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auvtsv0KRHSh3GTRriiATgdwe9vA1.jpg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eWomen Talking\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทดัดแปลงยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (รูนีย์ มารา),นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เบน วิชอว์), นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เจสซี บัคเลย์, แคลร์ ฟอย), ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eผลงานกำกับโดย \u003cstrong\u003eซาราห์ พอลลีย์\u0026nbsp;\u003c/strong\u003e(Away From Her, Stories We Tell) ที่ดัดแปลงจากนิยายในปี 2018 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง โดยบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดในชุมชนเคร่งศาสนาในชนบทห่างไกลซึ่งมีความเลวร้ายเกิดขึ้นต่อเนื่องนานหลายสิบปี เมื่อกลุ่มผู้หญิงถูกผู้ชายในหมู่บ้านมอมด้วยยาสลบวัวแล้วข่มขืน และโกหกพวกเธอว่าเกิดจากการกระทำของภูตผีปิศาจเพื่อลงโทษในความผิดบาป จนกระทั่งวันหนึ่ง พวกเธอได้รู้ความจริงถึงตัวผู้กระทำ พวกเธอจึงมีเวลาจำกัดเพื่อรวมตัวกันประชุมเป็นเวลา 48 ชั่วโมงเพื่อหาทางออก ซึ่งทางเลือกของพวกเธอมีทั้งเพิกเฉย หาทางตอบโต้กลับ หรือหนีไปจากหมู่บ้านนี้\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eมันเป็นหนังที่ท้าทายและอาจไม่เหมาะกับผู้ชมทุกคน เนื่องจากมันดำเนินเรื่องในสถานที่เดียวเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังดำเนินเรื่องด้วยบทสนทนาอันหนักหน่วงเป็นหลัก จนให้ความรู้สึกเหมือนละครเวที แต่ด้วยฝีมือการทำหนังของพอลลีย์ทำให้หนังออกมาน่าติดตาม มีการใช้เทคนิคภาพยนตร์ต่างๆ ที่น่าสนใจ รวมถึงถ่ายทอดประเด็นเรื่อง Sexual Harassment ได้อย่างทรงพลัง และให้ความรู้สึกร่วมสมัย\u003c/p\u003e\u003cp\u003eจากสถิติที่ผ่านมา สัดส่วนของหนังที่ได้ชิงออสการ์ส่วนใหญ่เป็นหนังของผู้กำกับเพศชาย (แม้สัดส่วนของหนังจากผู้กำกับเพศหญิงจะมากกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่น่าพอใจนัก) โดยปีนี้ หนังของผู้กำกับผู้หญิงซึ่งน่าจะไปไกลสุดบนเวทีออสการ์ก็คือหนังเรื่องนี้ และน่าลุ้นว่าเธอจะช่วยสร้างสถิติทำให้ผู้หญิงได้ออสการ์ผู้กำกับยอดเยี่ยมสามปีติดกันได้หรือไม่ (ต่อจาก โคลอี เจา จาก Nomadland และ เจน แคมเปียน จาก The Power of the Dog)\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003e\u003cem\u003eช่องทางรับชม : ยังไม่มีกำหนดฉายในไทย\u003c/em\u003e\u003c/strong\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auukaM25x62iB9ObefOJNzCoe9vA1.jpg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auukaM25x62iB9ObefOJNzCoe9vA1.jpg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eRRR\u0026nbsp;\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cem\u003e\u003cstrong\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003eหนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทออริจินัลยอดเยี่ยม, ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, เพลงประกอบยอดเยี่ยม, ออกแบบฉากยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003eRRR\u003c/strong\u003e เป็นหนังภาษาเตลูกู (อินเดียใต้) ซึ่งครองตำแหน่งหนังทุนสร้างสูงสุดของอินเดีย ผลงานของผู้กำกับ \u003cstrong\u003eเอส เอส ราจาเมาลี\u003c/strong\u003e (จาก Baahubali ทั้งสองภาค) ที่เล่าถึงมิตรภาพระหว่าง\u003cstrong\u003e\u0026nbsp;ราม\u003c/strong\u003e กับ \u003cstrong\u003eภีม\u003c/strong\u003e โดยคนแรกคือนักสู้ที่พยายามตามหาน้องสาวซึ่งถูกผู้ปกครองชาวอังกฤษลักพาตัว ส่วนคนหลังคือตำรวจที่รับใช้จักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งพวกเขาได้จับมือกันต่อต้านผู้ปกครองที่กดขี่ในช่วงปี 1920\u003c/p\u003e\u003cp\u003eแม้อุตสาหกรรมหนังอินเดียจะใหญ่โตเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่หนังอินเดียกลับไม่ค่อยมีบทบาทบนเวทีออสการ์มากเท่าที่ควร จนกระทั่งมาถึง RRRในปีนี้ เมื่อหนังรักษาจุดเด่นความเป็นหนังตลาดแบบอินเดียเอาไว้ได้แบบจัดเต็มความบันเทิงตลอดเวลาสามชั่วโมง แถมยังผสมผสานแนวหนังหลากหลายเอาไว้ด้วยกัน ทั้งแนวเอพิก, แอ็กชั่น, ตลก, แฟนตาซี, เมโลดราม่า, การเมือง, มิวสิคัล ฯลฯ โดยสอดแทรกประเด็นเกี่ยวกับมิตรภาพ ความรักชาติ และการต่อต้านการล่าอาณานิคมเอาไว้ด้วย โดยนำเสนอในแบบ Maximalist ซึ่งโอเวอร์จัดเต็ม ชนิดที่เรียกว่าไม่สนใจความสมจริงหรือกฎฟิสิกส์ ซึ่ง RRR ทำสำเร็จในสิ่งที่หนังฟอร์มใหญ่หลายเรื่องล้มเหลว นั่นคือมันให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่และดูสนุก\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังกลายเป็นขวัญใจทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ทั่วโลก นอกจากนั้นด้วยความที่หนังมีประเด็นที่เป็นสากล เข้าถึงง่าย และเข้าฉายช่องทางสตรีมมิงซึ่งเข้าถึงผู้ชมเป็นวงกว้าง ทำให้มีกระแสเชียร์หนังเรื่องนี้ให้ได้ออสการ์มากกว่าหนังอินเดียในอดีตเรื่องอื่นๆ ซึ่งมันมีโอกาสที่จะเป็นหนังอินเดียเรื่องแรกที่เข้าชิงออสการ์รางวัลใหญ่อย่างหนังและผู้กำกับยอดเยี่ยม (แต่น่าเสียดายที่หนังพลาดการเข้าชิงในสาขาหนังนานาชาติยอดเยี่ยม เพราะอินเดียเลือกส่งหนังเรื่อง Last Film Show แทนหนังเรื่องนี้)\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003e\u003cem\u003eช่องทางรับชม : ดูได้แล้วใน Netflix\u003c/em\u003e\u003c/strong\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cimg src=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auk6beTMRp1V2rQTpRZ5pYq6eTke9vA1.jpeg\” data-id=\”102657\” data-url=\”https://media.thairath.co.th/image/Wn0HzOP97UtjeERveQ4auk6beTMRp1V2rQTpRZ5pYq6eTke9vA1.jpeg\” style=\”width: auto;\” class=\”fr-fic fr-dib\”\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003ch2\u003eBabylon\u0026nbsp;\u003c/h2\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003e\u003cem\u003eรางวัลที่คาดว่าจะได้เข้าชิง :\u003c/em\u003e\u003c/strong\u003e\u003cem\u003e\u0026nbsp;นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (มาร์โกต์ ร็อบบี), นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (แบรด พิตต์), ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, แต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยม\u003c/em\u003e\u003cbr\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังเป็นผลงานกำกับ/เขียนบทของ \u003cstrong\u003eเดเมียน ชาเซลล์\u003c/strong\u003e (La La Land) โดย\u003cstrong\u003e\u0026nbsp;Babylon\u003c/strong\u003e ยังคงเล่าเรื่องราวในวงการฮอลลีวูดเหมือนหนังสร้างชื่อของเขา แต่คราวนี้เปลี่ยนฉากหลังเป็นฮอลลีวูดช่วงเริ่มต้นในยุค 1920 ซึ่งสตูดิโอกำลังก่อร่างสร้างความรุ่งเรือง วงการหนังกำลังเปลี่ยนผ่านจากหนังเงียบเป็นหนังเสียง ผู้คนในวงการล้วนทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จ พวกเขามีพฤติกรรมสุดเหวี่ยง โดยปาร์ตี้อย่างบ้าคลั่งไม่เว้นวัน หนังถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละครในฮอลลีวูดหกคนซึ่งมีชีวิตพาดผ่านกัน (โดยได้แรงบันดาลใจจากบุคคลที่มีตัวตนจริง) โดยเล่าเรื่องราวตั้งแต่ช่วงที่พวกเขารุ่งเรือง ไปจนถึงจุดตกต่ำ\u003c/p\u003e\u003cp\u003eBabylon ถือเป็นหนังเสียงแตกโดยได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบ หนังได้รับเสียงชื่นชมทางด้านความทะเยอทะยานของผู้กำกับในการทำหนังที่เต็มไปด้วยความบ้าคลั่งตลอด 190 นาที (จนหนังถูกนำไปเทียบกับ The Wolf of Wall Street) รวมถึงเสียงชื่นชมทางด้านเทคนิคต่างๆ (ถ่ายภาพ, ลำดับภาพ, การสร้างฉากที่จำลองฮอลลีวูดในยุคนั้น, ดนตรีประกอบสไตล์ยุค Jazz Age) แต่ได้รับเสียงวิจารณ์แง่ลบในด้านบทหนัง การกำกับ รวมถึงตัวหนังที่ดูไร้ทิศทางและยืดยาวเกินไป\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003eหนังล้มเหลวทางรายได้อย่างสิ้นเชิงซึ่งอาจส่งผลต่อการเข้าชิงรางวัล แต่ถึงอย่างนั้น ด้วยความที่ตัวหนังพูดถึงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ (ซึ่งเข้าทางออสการ์) รวมถึงงานเทคนิคชั้นยอด ก็น่าจะส่งผลให้หนังยังคงมีบทบาทสำคัญในเวทีออสการ์ครั้งนี้อยู่\u0026nbsp;\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003e\u003cem\u003eช่องทางรับชม : เข้าฉายโรงที่ไทย ตั้งแต่ 19 มกราคมนี้เป็นต้นไป\u003c/em\u003e\u003c/strong\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cbr\u003e\u003c/p\u003e\u003cp\u003e\u003cstrong\u003eอ้างอิง :\u0026nbsp;\u003c/strong\u003e\u003ca href=\”https://www.indiewire.com/feature/2023-oscars-best-picture-predictions-1234734247/\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003eindiewire.com\u003c/a\u003e, \u003ca href=\”https://variety.com/feature/2023-oscars-best-picture-predictions-1235306911/\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003evariety.com\u003c/a\u003e, \u003ca href=\”https://ew.com/awards/2023-oscar-nomination-predictions/\” rel=\”noopener noreferrer\” target=\”_blank\”\u003eew.com\u003c/a\u003e\u003c/p\u003e”,”thumbnails”:[“https://media.thairath.co.th/image/G61cKD0j0757ZDNYFVDWESN32NoLm0nsmkWIKdYJp1V2BIe9vA1.png”]}]}],”categories”:[{“__typename”:”Category”,”_id”:”608b83e3349fd9fb0e785b51″,”value”:”culture”,”label”:”Culture”}],”topic”:[{“__typename”:”Topic”,”_id”:”607e84a5349fd9fb0e5fa3fa”,”value”:”subculture”,”label”:”Subculture”}],”subtopic”:[{“__typename”:”SubTopic”,”_id”:”607e84a5349fd9fb0e5fa3fa”,”value”:”filmandseries”,”label”:”Film \u0026 Series”}],”tags”:[“ภาพยนตร์”,”ออสการ์ 2023″,”ฮอลลีวูด”,”Babylon”,”RRR”,”Women Talking”,”Aftersun”,”Tár”,”Everything Everywhere All At Once”,”The Banshees of Inisherin”,”The Fabelmans”,”Top Gun Maverick”],”status”:”30″,”created_time”:”2023-01-12T12:43:26+07:00″,”updated_time”:”2023-01-12T13:08:49+07:00″,”gallery”:[],”assign_to”:”user_id”,”publish_time”:”2023-01-12T13:08:49+07:00″,”expire_time”:null,”unlist”:false,”premium_type”:”10″,”allow_comment”:false,”cover”:”https://media.thairath.co.th/image/G61cKD0j0757ZDNYFVDWEbLb0VsEodUBYxb6BMQqZyUe9vA1.png”,”share”:”https://media.thairath.co.th/image/G61cKD0j0757ZDNYFVDWEcVVBI8ftML6NcHzwG1bze0e9vA1.png”,”follow”:{“__typename”:”Follow”,”_id”:null,”title”:null,”description”:null,”cover”:null},”quotes”:[],”author”:{“__typename”:”Author”,”_id”:”60a7276ee90c58001245a941″,”first_name”:”บดินทร์ “,”last_name”:”เทพรัตน์”,”profile_image”:”http://media.thairath.co.th/image/RvMsG4qjF112Wejz3rnp1V2NVEehr6vkRe8ep1V2bAzCEWiZ8e9vA1.jpeg”,”description”:”นักเขียน, นักจัดกิจกรรม, นักธุรกิจ, นักศึกษาปริญญาโท และนักดูหนัง (ในโรง)

Leave a Reply

The maximum upload file size: 500 MB. You can upload: image, audio, video, document, spreadsheet, interactive, other. Links to YouTube, Facebook, Twitter and other services inserted in the comment text will be automatically embedded. Drop file here